ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
กาสะลองคำ
 
กาสะลองคำ
ชื่ออื่นๆ: กากี (สุราษฎร์ธานี) แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง) จางจืด (เชียงใหม่) สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ปีบทอง (ภาคกลาง) อังเกียลโบ๊ะ (เขมร)
ชื่อสามัญ: Tree jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Radermachera ignea (Kuzz) Steenlis
วงศ์: BIGNONIACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่มโปร่ง มักแตกกิ่งก้านสาขาที่ระดับความสูงประมาณ 2 ม. ขึ้นไป
ฤดูการออกดอก: ปลายฤดูหนาว - ฤดูร้อน (ธ.ค. - เม.ย.)
เวลาที่ดอกหอม: ดอกหอมอ่อนมาก แต่สีสันของดอกสวยงามมาก
การขยายพันธุ์:
การตอน การปักชำ แต่ที่นิยมคือ การเพาะเมล็ดเองจากต้น
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
มีการแตกกิ่งก้านสาขาที่ระดับความสูงพอที่จะปลูกพันธุ์ไม้เลื้อยชนิดต่างๆ ที่โคนต้นได้ดี (ใช้แทนค้างให้ไม้เลื้อยได้ดี)
เมื่อตั้งตัวได้แล้ว (ประมาณ 1 - 2 ปี) ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรดน้ำเพิ่มเติม อาศัยเพียงน้ำตามธรรมชาติก็เพียงพอในการเจริญเติบโต
ข้อแนะนำ:
แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ค่อนข้างแห้งที่ปลูกไม้อื่นๆ ไม่ค่อยได้ผล (เป็นพันธุ์ไม้บุกเบิกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ดังกล่าว)
ข้อมูลอื่นๆ:
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดเชียงราย
ลำต้น ผสมสมุนไพรตำรับที่ 58 ฝนน้ำกินแก้ซาง
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย
ใบ ตำคั้นน้ำทาหรือพอกใช้รักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV - l reverse transcriptase
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (71)
2. http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/cheangrai.htm
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (445)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม