ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
นมแมว
 
นมแมว
ชื่อสามัญ: Nom maeo
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rauwenhoffia siamensis (Scheff) Ban.
วงศ์: ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด: ภาคใต้ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก แต่ส่วนใหญ่ไม่เลื้อย
ฤดูการออกดอก: ช่วงฤดูฝน (มิ.ย. - ก.ย.)
เวลาที่ดอกหอม: ตอนเย็นถึงเช้า
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
เป็นพันธุ์ไม้หอมขนาดเล็กเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่ปลูกน้อย
ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก
ราคาต้นพันธุ์ไม่แพง
ผลรับประทานได้
ข้อแนะนำ:
นมแมวที่สวนไม้หอมฯ เจริญเติบโตได้ดีทั้งในที่แดดเต็มวันและแดดครึ่งวันเช้า
หากมีความประสงค์ที่จะปลูกหลายต้น ควรซื้อมาปลูกในคราวเดียวกัน เพราะการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า และราคาไม่แพง
มีความไวต่อดินเค็ม โดยจะแสดงอาการปลายใบไหม้ให้เห็น แนวทางแก้ไขเมื่อปลูกลงในพื้นที่แล้วก็คือ ต้องคอยควบคุมความชื้นของดิน ให้ดินชื้นอยู่ตลอดเวลาจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งสภาพภูมิอากาศค่อนข้างชื้น จึงควรปลูกนมแมวในพื้นที่ชื้นจะทำให้การเจริญเติบโตดี
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (372)
2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. -- กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 2546. 1,488 หน้า (562)
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (352)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม