ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ช้างกระ
 
ช้างกระ
ชื่ออื่นๆ: ช้างดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyhchostylis gigantea Ridl. var. gigantea
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรี และแถบจังหวัดกาญจนบุรี พบขึ้นกระจายทั่วไปในป่าที่มีระดับความสูงประมาณ 260 - 350 ม. จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะทั่วไป: กล้วยไม้ยืนต้นชอบอิงอาศัยกับพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ ไม่ค่อยแตกหน่อ
ฤดูการออกดอก: ช่วงฤดูหนาว (พ.ย. - ก.พ.)
เวลาที่ดอกหอม: ตลอดวัน
การขยายพันธุ์:
แยกหน่อ หรือตัดต้น
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ต้องการพื้นที่น้อยในการปลูก (เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยต้นไม้อื่น)
มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมดีกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ
ดอกหอมมาก ออกดอกนานหลายวัน
ข้อแนะนำ:
ถึงแม้ว่าจะเป็นกล้วยไม้ที่อดทนต่อสภาพแวดล้อม แต่ถ้าต้องการให้ช้างกระมีการเจริญเติบโตที่ดี ควรให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง แสงแดดรำไร
ข้อมูลอื่นๆ:
ช้างกระเป็นพันธุ์ไม้หอมที่เจริญเติบโตช้า
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ.  336 หน้า (79)
2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (234)
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (453)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม