|
โสก |
ชื่ออื่นๆ: |
กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา) ชุมแสงน้ำ (ยะลา) ตะโดลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี) ส้มสุก (ภาคเหนือ) โสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี) |
ชื่อสามัญ: |
Asoka tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Saraca indica L. |
วงศ์: |
FABACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เอเซีย |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 ม. ทรงพุ่มกลมโดยธรรมชาติ มีใบแน่นทึบตลอดเวลา |
ฤดูการออกดอก: |
ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมอ่อนตลอดวัน |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ระบบรากแข็งแรง ใบไม่ค่อยร่วง ใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ไม้ดอกหอม ไม้ประดับ ไม้กันลม ไม้ที่ให้ร่มเงา |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และใช้พื้นที่ในการปลูกมาก การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในพื้นที่จำกัด อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษาในภายหลังได้ |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูง การปลูกในพื้นที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณชายน้ำจะทำให้ได้ต้นที่มีความสมบูรณ์ สวยงามตรงตามชนิดพันธุ์ได้ง่าย |
|
ผู้ที่สนใจปลูกไม้หอมชนิดนี้แต่มีพื้นที่ปลูกน้อย ก็สามารถปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ได้ เนื่องจากสามารถควบคุมให้มีขนาดตามต้องการ โดยการตัดแต่งทรงพุ่มให้อยู่ในขนาดที่ต้องการภายหลังการออกดอกทุกครั้ง |
|
จำนวนที่แนะนำให้ปลูกสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย 1 ต้นก็พอ (พื้นที่ที่เหลือเก็บเอาไว้ปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดอื่นบ้าง เมืองไทยมีพันธุ์ไม้หอมมากกว่า 100 ชนิด) |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ในการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงากับตัวอาคารโดยเฉพาะช่วงบ่ายๆ ของวันซึ่งมีแสงแดดจัดและอุณหภูมิสูง |
|
ใบอ่อน สามารถนำมาใช้แกงส้มได้ |
|
ดอก บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|