ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
กวักมงคล
 
กวักมงคล
ชื่ออื่นๆ: เจ็ดทิวา เดหลีใบกล้วย หน้าวัวไทย
ชื่อสามัญ: Fragrant spathiphyltum, Peace lily
ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathiphyllum cannaefolium (Dryand.) Schott.
วงศ์: ARACEAE
ถิ่นกำเนิด: ยังไม่ทราบแน่ชัด
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มคลุมดินขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 - 50 ซม. มีการแตกกอจำนวนมากในปีที่ 2
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี (ออกดอกมากช่วงฝน เดือน พ.ค. - ส.ค.)
เวลาที่ดอกหอม: แกนดอกหอมอ่อนตลอดวัน (ช่วงอากาศเย็นจะหอมมาก)
การขยายพันธุ์:
แยกต้นอ่อน จากไหลและเหง้าใต้ดิน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก ในกระถางก็สามารถปลูกได้ดี
ราคาไม่แพง การชื้อหาพันธุ์ไม้ชนิดนี้ทำได้ไม่ยาก ส่วนใหญ่จำหน่ายตามร้านจำหน่ายไม้ประดับใบ
ปลูกได้ดีในพื้นที่มีแสงแดดรำไร
ใบสวยงามซึ่งเป็นที่นิยมของนักจัดสวนชนิดหนึ่ง
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์ได้ไม่ยาก ชื้อเพียง 1 - 2 ต้นก็เพียงพอ
ต้องการความชื้นและอินทรียวัตถุในดินสูง
ควรปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ ห่างกันประมาณ 30 - 40 ซม. ในช่วงแรกจะดูห่างไปสักนิด แต่ในช่วงปีที่ 2 เป็นต้นไปจะพบว่า มีการแตกหน่อเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้พื้นที่ที่ปลูกสวยงามขึ้น
ข้อมูลอื่นๆ:
แกนดอกมีสารล่อแมลงวันทอง
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ใช้ในงานจัดสวนโดยเฉพาะในพื้นที่ร่มรำไร
การปลูกในพื้นที่มีแสงค่อนข้างมากจะพบอาการใบเหลือง หรือต้นแห้งตายในที่สุด
กวักมงคล หรือเดหลี มี 2 ชนิดคือ ชนิดใบใหญ่ และชนิดใบเล็ก ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่ออกดอก
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ 2542. หน้า (277)
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (492)
3. Uamporn Veesommai and Thaya Janjittikul.  Plant Materials in Thailand in 2001.  640 p. (155)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม