ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ตะลุมพุก
 
ตะลุมพุก
ชื่ออื่นๆ: ตะลุมพุก Talum phuk, กระลำพุก Kralam phuk, มะคังขาว Ma khang khao (Central, Southwestern); มอกน้ำข้าว Mok nam khao, มะข้าว Ma khao (Northern); มะคัง Ma khang (Uttaradit); ลุบปุ๊ก Lup puk (Northeastern0; ลุมพุก Lum phuk (Lop Buri)
ชื่อสามัญ: • Divine Jasmine: Tamilnadia
• Marathi: Kalaphendra
• Tamil: Wagatta, Kalikarai
• Malayalam: Pindichakka, Malankara
• Telugu: Kuka-elka
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre

Homotypic Synonyms:
Gardenia uliginosa Retz., Observ. Bot. 2: 14 (1781).
Randia uliginosa (Retz.) Poir. in J.B.A.M.de Lamarck, Encycl., Suppl. 2: 829 (1812).
Posoqueria uliginosa (Retz.) Roxb., Fl. Ind. 2: 563 (1824).
Solena uliginosa (Retz.) D.Dietr., Syn. Pl. 1: 799 (1839).
Xeromphis uliginosa (Retz.) Maheshw., Bull. Bot. Soc. Univ. Saugar 10: 39 (1958 publ. 1961).
Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre, Mauritius Inst. Bull. 8(4): 85 (1979).
วงศ์: RUBIACEAE subfamily: Ixoroideae
ถิ่นกำเนิด: ไทย บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป: ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก พุ่มโปร่ง รูปทรงไม่แน่นอน สูงประมาณ 5-10 ม. ลำต้นมีหนามแหลมยาว เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม
ฤดูการออกดอก: ก.ค. - ส.ค. ติดผล
การขยายพันธุ์:
เพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
เป็นพันธุ์ไม้ป่า มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม
ไม่มีโรคแลแมลงรบกวน
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นไม่ตรง แต่สามารถ ดัด ตัดแต่งได้ไม่ยาก
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีหนามขนาดใหญ่ ต้องระมัดระวังในการปลูกและดูแลรักษา
ข้อมูลอื่นๆ:
สรรพคุณ เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี
รากและแก่น ต้มน้ำดื่ม เข้ายาแก้ปวดเมื่อย ช่วยบำรุงเลือด แก่น ผสมแก่นมะคังแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง
ผลและราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด
ตำรายาไทย ใช้ ผลและราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด แก้อติสาร
หมายเหตุ:
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ลำต้นเป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. ตามปลายกิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมยาว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ เป็นปมขรุขระทั่วไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้สีขาวปนน้ำตาลอ่อน ละเอียด สม่ำเสมอมาก (นิยมใช้แกะสลัก) กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สีเขียวอ่อน รูปไข่กลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-14 ซม. มีหูใบเล็กๆ อยู่ระหว่างก้านใบ ผิวใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมันลื่น ท้องใบเรียบ เนื้อใบบาง ฉีกขาดง่าย ก้านใบยาวไม่เกิน 1 ซม. แผ่นใบมีขนประปรายปกคลุมด้านล่าง
ดอก ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายยอด กลีบดอกทรงกลมใหญ่ สีขาว มี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบดอกมน กลีบดอกค่อนข้างหนา หลอดกลีบยาวกว่ากลีบดอก ยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเมือกค่อนข้างมาก กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม เกสรตัวผู้มี 5 อัน อับเรณูสีเหลือง เกสรตัวเมียมี 1 อัน ก้านเกสรสีขาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ปลายเกสรเพศเมียรูปถ้วย กลีบเลี้ยงสีขาวมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก
ผล ผลเดี่ยว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 ซม. ผลสด รูปไข่ กลมรี ยาว 4-6 ซม. เนื้อแน่น แข็ง ผิวผลเรียบ ผลสดสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดรูปทรงกลมจำนวนมาก เมล็ดมักฝ่อ พบขึ้นตามริมน้ำ ในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
เอกสารอ้างอิง:
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=48
3. TEM SAMITINAND.  THAI PLANT NAMES.  Revised Edition 2001.  810 p. (516)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม