ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
เข็มเขียว
 
เข็มเขียว
ชื่ออื่นๆ: เข็มตาบู บุหงารำไป
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tarenna stellulata ( Hook.f.) Ridl
วงศ์: RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มเตี้ย พุ่มโปร่ง สูงประมาณ 1 - 2 ม. มีการแตกกิ่งก้านน้อย รูปทรงไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ฤดูการออกดอก: ช่วงฤดูหนาว (พ.ย. - มี.ค.)
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวันโดยเฉพาะช่วงเช้าและเย็นก่อนมืด
การขยายพันธุ์:
การตอน ที่สวนไม้หอมฯ ทดลองตอนกิ่งเข็มเขียวพบว่ามีการออกรากได้ดี (ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณปลายเดือน พ.ค. จะดีมาก) ใช้เวลาในการออกราก 1.5 - 2 เดือน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ในกระบวนเข็มด้วยกัน เข็มเขียวมีกลิ่นหอมไม่เป็นรองเข็มชนิดใดๆ (ในปริมาณที่เท่ากัน)
เป็นเข็มที่ดูออกจะแปลกจากไม้หอมในตระกูลเข็มคือ สีของดอกจะเป็นสีเขียวตองอ่อน
ข้อแนะนำ:
เข็มเขียวแปลกกว่าเข็มโดยทั่วไปคือ เข็มโดยทั่วไปปลูกในที่กลางแจ้งได้ดี แต่เข็มเขียวกลับเจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดปานกลาง (ประมาณ 50%)
เข็มเขียวต้องการน้ำมากกว่าเข็มชนิดอื่น หากเริ่มขาดน้ำจะแสดงอาการใบเหี่ยวให้เห็นทันที
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ.  336 หน้า (41)
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (517)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม