ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ชำมะนาด
 
ชำมะนาด
ชื่ออื่นๆ: ดอกข้าวใหม่ ชำมะนาดกลาง ชำมะนาดฝรั่ง อ้มส้าย (ภาคเหนือ) (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ: Bread flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Vallaris glabra (L.) Kuntze
Pergularia glabra L. (basionym)

Heterotypic Synonyms:
Vallaris pergulana Burm.f., Fl. Indica: 51 (1768).
Vallaris indica J.F.Gmel., Syst. Nat.: 391 (1791), nom. illeg.
Echites dichotomus Roxb., Hort. Bengal.: 20 (1814), nom. superfl.
Emericia pergularia (Burm.f.) Roem. & Schult., Syst. Veg. 4: 401 (1819).
Vallaris dichotoma Wall., Numer. List: 1621 (1829), nom. superfl.
Echites hircosus Roxb., Fl. Ind. ed. 1832, 2: 18 (1832).
Vallaris ovalis Miq., Fl. Ned. Ind. 2: 427 (1857).
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: อินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป: ไม้เลื้อยขนาดกลาง ทรงพุ่มไม่แน่นอน ใบบางและต้นมียางเหนียวสีขาว
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะดกช่วงฤดูหนาว
เวลาที่ดอกหอม: ตลอดทั้งกลางวันและหัวค่ำ (ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมกว่าช่วงที่มีอากาศร้อน)
การขยายพันธุ์:
เพาะเมล็ด ที่สวนไม้หอมยังไม่มีการติดของเมล็ด
การตอนกิ่ง ชำมะนาดเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ออกรากค่อนข้างยาก และใช้เวลาในการตอน 2 - 3 เดือน จึงจะออกราก และเปอร์เซ็นต์การออกรากด้วยวิธีนี้ค่อนข้างต่ำ
ปักชำ เป็นวิธีที่ได้ผลดีและได้ต้นใหม่ที่สวยงาม แต่รากหรือไหลที่จะนำมาขยายพันธุ์ต้องมีขนาดพอสมควร
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ช่วงเวลาที่ดอกบานนาน เนื่องจากดอกเป็นดอกช่อและค่อยๆ ทยอยบาน จึงมีช่วงเวลาที่ดอกส่งกลิ่นหอมยาวนาน
ดอกมีกลิ่นหอมแรง
ข้อแนะนำ:
ต้องการแดดจัด และต้องสร้างที่ยึดเหนี่ยว
ต้องการน้ำไม่มาก การปลูกในที่ชื้นแฉะอาจทำให้ตายได้
ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมน้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม
ข้อมูลอื่นๆ:
เป็นไม้มียาง ควรระมัดระวังในดูแลรักษาและขยายพันธุ์
วิธีทำให้รากลอยมาที่ระดับผิวดินจะทำให้มีการเกิดต้นใหม่ได้ไม่ยากนัก
ดอก ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ลอยน้ำเหมือนดอกมะลิ แต่ต้องระวังเรื่องการช้ำขณะนำมาลอยน้ำ เพราะว่าเมื่อเกิดการช้ำจะเกิดกลิ่นเหม็นเขียวแทน ใช้เป็นเครื่องอบในแป้งร่ำ เครื่องหอม น้ำอบ
ปลูกเป็นไม้ซุ้มประดับ
หมายเหตุ:
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้เลื้อย มีน้ำยางขา
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบยาว 2-3 ซม.
ดอก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 ซม. มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร
ผล ผลเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น.  2540.  ไม้ดอกหอม เล่ม 1.  สำนักพิมพ์บ้านและสวน. พิมพ์ครั้งที่ 5.  160 หน้า (85)
2. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ.  336 หน้า (82)
3. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  2542.  พจณานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย.  บริษัท รวมสาร (1977) จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 5.  981 หน้า (218)
4 BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization, Ministry of Environment and Natural Resources, Thailand
5. https://th.wikipedia.org/wiki/ชำมะนาด
6. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (544)
7. The Encyclopedia of Plants in Thailand (สารานุกรมพืชในประเทศไทย)
8. World Checklist of Selected  Plant Families: Royal Botanic Garden, Kew
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม