ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
โมกซ้อน
 
โมกซ้อน
ชื่ออื่นๆ: ปิดจงวา โมกบ้าน หลักป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia religiosa Benth. ex Kurz.
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 2 - 3 ม. แตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี (ออกดอกมากช่วงปลายฤดู - ต้นฤดูหนาว)
เวลาที่ดอกหอม: ช่วงเย็น - เช้า
การขยายพันธุ์:
การตอน ใช้เวลา 1.5 - 2 เดือนจึงออกราก และมีความจำเป็นที่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม
มีใบสวยงาม ดอกหอม และสามารถตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงามตามต้องการได้ดีชนิดหนึ่ง
ข้อแนะนำ:
การตัดแต่งทรงพุ่มควรทำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ทรงพุ่มแน่นสวยงาม แต่จะไม่ค่อยออกดอกให้ชม
การบังคับโมกซ้อนให้ออกดอกทำได้โดยการควบคุมน้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม
ข้อมูลอื่นๆ:
พันธุ์ไม้ในตระกูลนี้ส่วนใหญ่จะชอบพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
ยาง ใช้แก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก ใช้แก้พิษงูและแมลงกัดต่อย
ราก รักษาโรคเรื้อน
มีความเชื่อว่า "โมก" จะทำให้เกิดความสุข บริสุทธิ์ สดใส และคุ้มกันภัยกับชาวราศีพฤษภ (15 พ.ค. - 14 มิ.ย.) ชาวพฤษภ เป็นผู้ที่มีความตั้งใจในการทำงานสูง มีความจริงใจ ใจกว้าง มีชีวิตที่ไม่โลดโผน
หมายเหตุ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอยู่กลางแจ้ง การปลูกโมกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ต้นสูงชะลูด และไม่ค่อยออกดอก
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (696)
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (558)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม