|
ประยงค์ |
ชื่ออื่นๆ: |
ขะยง พะยงค์ หอมไกล ประยงค์ใบใหญ่ |
ชื่อสามัญ: |
Chinese rice flower |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Aglaia odorata Lour. |
วงศ์: |
MELIACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ทรงพุ่มค่อนข้างกลม |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมอ่อนมากตลอดวัน (คิดให้ดีก่อนปลูกนะครับ) |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอน ใช้เวลาในการตอน 1.5 - 2 เดือน และมีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งการเกิดราก |
|
การเพาะเมล็ด อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูล ได้ผลอย่างไรจะแจ้งให้ทราบภายหลัง |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ออกดอกให้ชมได้บ่อย |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบและทรงพุ่มสวยงาม (ต้องคอยตัดแต่งกิ่งก้านสาขาบ้างนะ) สามารถใช้เป็นไม้ประดับใบได้ |
|
จากการเก็บข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง ไม่พบการเข้าทำลายโรคและแมลงศัตรูพืช |
|
ข้อแนะนำ: |
|
ความสำคัญในแง่การตลาดสำหรับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ยังไม่ค่อยดีนัก |
|
ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเล็กๆ ออกบ้าง (เป็นพันธุ์ไม้หอมที่แตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมาก) |
|
ควรปลูกในพื้นที่มีแดดตลอดวันจะทำให้ทรงพุ่มสวยงาม |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ราก แก้เลือด แก้กำเดา ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ผอมแห้งแรงน้อย แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ไข้ |
|
ใบ รักษากามโรค แก้ฟกช้ำ รักษาฝีหนอง ใช้ในสตรีที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ |
|
ดอก ฟอกปอด แก้ร้อนดับกระหาย แก้เวียนศีรษะ ปัจจุบันสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (18) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|