|
ตันหยง |
ชื่อสามัญ: |
Divi-divi |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Caesalpinia coriaria |
วงศ์: |
Caesalpinioideae หรือ Leguminosae |
ถิ่นกำเนิด: |
Aruba, Curacao และในอเมริกากลาง |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง รูปแบบทรงพุ่มไม่แน่นอน ต้องตัดแต่งสม่ำเสมอจึงจะได้รูปแบบที่ต้องการ |
ฤดูการออกดอก: |
ช่วงฤดูฝน (พ.ค. - ส.ค.) |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมอ่อนตลอดวัน |
การขยายพันธุ์: |
|
การเพาะเมล็ด น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีเมล็ดมาก |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
เมื่อตันหยงโตแล้วจะมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าพันธุ์ไม้หอมหลายชนิด |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่พบการเข้าทำลายของเพลื้ยแป้งจำนวนมาก |
|
ทรงพุ่มไม่ค่อยสวยงาม มีความจำเป็นต้องตัดแต่งอย่างสม่ำเสมอ |
|
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ควรปลูกให้ห่างจากต้นไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะไม้หอมจำพวกกุหลาบทุกชนิด เนื่องจากกุหลาบอาจได้รับความเสียหายจากการทำลายของเพลี้ยแป้งที่มักเกิดกับตันหยงได้ |
|
จำนวนต้นที่จะปลูกผู้รวบรวมแนะนำว่า 1 ต้นก็พอ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (86) |
2. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (294) |
3. |
http://www.rareflora.com/caesalpiniacor.html |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|