ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
บุหงาส่าหรี
 
บุหงาส่าหรี
ชื่ออื่นๆ: บุหงาแต่งงาน บุหงาบาหลี
ชื่อวิทยาศาสตร์: Citharexylum spinosum Linn.
วงศ์: Verbenaceae
ถิ่นกำเนิด: หมู่เกาะบาร์บาโดส
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดกลาง ทรงพุ่มเป็นทรงกระบอก และมีการแตกกิ่งก้านสาขามากบริเวณโคนต้น
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน (หอมมากช่วงเย็นถึงเช้า)
การขยายพันธุ์:
การตอน กิ่งค่อนข้างเปราะ ต้องระวังกิ่งหักภายหลังการตอน
การปักชำ นิยมปักชำกิ่งที่มียอดอ่อน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมแรง
ช่วงเวลาในการออกดอกนาน (ใน 1 ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมากและค่อยๆ ทยอยบานนานหลายวัน)
การออกดอกสามารถควบคุมได้ด้วยการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ย และการให้น้ำที่ดี
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการน้ำไม่มากแต่ต้องการบ่อยครั้ง
เมื่อปลูกไปหลายๆ ปีควรมีการตัดแต่งครั้งใหญ่ๆ (ทำสาว) สักครั้งหนึ่ง จะช่วยให้ขนาดของใบและดอกดีขึ้น
การสังเกตว่าปริมาณน้ำที่ต้นบุหงาส่าหรีได้รับเพียงพอหรือไม่ สังเกตได้จากสีของใบจะมีสีค่อนข้างเหลือง แสดงว่าขาดน้ำ
บุหงาส่าหรีมักมีการออกดอกบริเวณที่เป็นกิ่งอ่อน
ปลูกเป็นไม้ประดับ พุ่มให้ร่มเงา ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (428)
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001. 810 p. (131)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท  และไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม