ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
พลับพลึงใหญ่ดอกสีขาว พลับพลึงใหญ่ดอกสีขาว
 
พลับพลึงใหญ่ดอกสีขาว
ชื่ออื่นๆ: ลิลัว (ภาคเหนือ) พลับพลึง (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ: Cape lily, Crinum lily
ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum asiaticum Linn.
วงศ์: AMARYLLIDACEAE
ถิ่นกำเนิด: กระจายทั่วไปในทวีปเอเซีย
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีขึ้นเป็นกอ ทรงพุ่มเตี้ยขนาดกลาง ทรงพุ่มโปร่ง มีหัวใต้ดิน และมีที่เห็นว่าเป็นลำต้นแท้จริงเป็นกาบใบที่อัดกันแน่น เมื่อโตเต็มที่กว้างกว่า 20 ซม. และยาวประมาณ 30 ซม.
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี แต่ออกมากช่วงฤดูฝน
เวลาที่ดอกหอม: ช่วงเย็น - เช้าก่อนแดดแรง
การขยายพันธุ์:
แยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้น
เพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ปลูกในที่ชื้นแฉะได้ดี
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
เป็นพืชที่ทนทาน ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก
มีลำต้นขนาดใหญ่ นิยมนำกาบใบด้านในมาใช้ในการแกะสลักเพื่อตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
เจริญเติบโตเร็ว สามารถควบคุมวัชพืชที่ขึ้นริมน้ำได้ดี
มีอายุยืนยาวนับสิบปี ลำต้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งต้นใหญ่ยิ่งสวยงาม
ข้อแนะนำ:
พื้นที่ปลูกควรมีความชื้นสูง เช่น บริเวณริมน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะ
พลับพลึงใหญ่ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำน้อย หากน้ำไม่พอจะแสดงอาการเหี่ยว
หากต้องการให้ใบสวยงาม ไม่ควรปลูกในพื้นที่ได้รับแสงแดดเต็มวัน
หากต้องการให้ออกดอกบ่อยๆ ควรทำลายต้นขนาดเล็กที่ขึ้นอยู่บริเวณโคนต้นใหญ่ออก
การตัดลำต้นใหญ่จะทำให้มีการแตกหน่อเล็กๆ จำนวนมาก แต่จะทำให้การออกดอกลดลง
การลอกกาบใบที่แห้งออกบ้าง จะทำให้พลับพลึงใหญ่สวยงามและเจริญเติบโตรวดเร็ว
ข้อมูลอื่นๆ:
ใบ จะมีรสเอียน นำไปต้มกินทำให้อาเจียน หรือใช้ใบพันรักษาอาการฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัด ยอก แพลง จะถอนพิษได้ดี จะใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียว หรืออาจใช้ปนกับชนิดอื่นๆ แล้วนำไปตำปิดบริเวณที่ปวด ใช้รักษาอาการปวดศีรษะ อาการบวม และลดอาการไข้หัว จะมีรสขม ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะ น้ำดี นอกจากนี้ในหัวยังมีสาร alkaloid narcissine
เมล็ด ใช้เป็นยาบำรุง ยาระบาย ขับเลือดประจำเดือน และขับปัสสาวะ
ราก เคี้ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไป จะทำให้อาเจียน ใช้รักษาพิษยางน่อง หรือใช้ตำพอกแผล
หมายเหตุ: "พลับพลึง (ไทย); ลิลัว (พายัพ)." In Siam. Plant Names, 1948, p. 144., Crinum toxicanum Roxb., Wight, lcones tab. 2021-2., Crinum asiaticum Ostenfeld in Schmidt, Flora of Koh Chang, VIII, 1904, p. 316 "Koh Kahdat, sandy seashore.", Crinum asiaticum Burkill, I, 1935, p. 681 "Bunga tembagasuasa (copper and gold flower); in Siam, Plab pleung."
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรม สมุนไพรไทย.
2. Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (153)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม