|
พุดสวน |
ชื่ออื่นๆ: |
พุดฝรั่ง |
ชื่อสามัญ: |
Crape jasmine |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Ervatamia rostrata Markgr. |
วงศ์: |
Oleaceae |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศอินเดีย |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก - กลาง มีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมอ่อนตลอดคืน |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอน เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ มีการออกราก 100% ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ออกดอกให้ชมได้บ่อย |
|
ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด |
|
ข้อแนะนำ: |
|
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ ความสำคัญในแง่การตลาดสำหรับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ยังไม่ค่อยดีนัก การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ขอให้หวังเพื่อการอนุรักษ์จะดีกว่า |
|
ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเล็กๆ ออกบ้าง (เป็นพันธุ์ไม้ที่แตกกิ่งเล็กๆ จำนนวนมาก) |
|
ที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ พบการเข้าทำลายของเชื้อราบางชนิดทำให้เกิดโรคใบจุด แต่ไม่ทำความเสียมากนัก หากท่านพบโรคดังกล่าวควรทำการควบคุมโดยการเด็ดใบที่เป็นโรคทิ้งให้หมด หากยังมีการแพร่ระบาดของโรคควรใช้สารเคมี ไดเทนเอ็ม-45 อัตราตามที่ระบุในฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ที่สวนไม้หอมฯ พบการเข้าทำลายของเชื้อราบางชนิดทำให้เกิดโรคใบจุดบ้าง แต่ยังไม่ทำความเสียหายมากนัก (ยังไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืชกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้) |
|
ขอขอบคุณ คุณกณิษฐา สังคะหะ นักวิจัย 8 (ชำนาญการ) หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ ที่ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรคของพุดสวน |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (147) |
2. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (383) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|