ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
จำปีสิรินธร
 
จำปีสิรินธร
ชื่ออื่นๆ: จำปา จำปีสัก (ลพบุรี)
ชื่อสามัญ: Champi Sirindhorn
ชื่อวิทยาศาสตร์: Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin
วงศ์: MAGNOLIACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก (ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่สวนไม้หอมฯ)
ฤดูการออกดอก: ออกดอกช่วง เม.ย. - มิ.ย.
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน
การขยายพันธุ์:
ดูที่  http://www.rspg.org/jumpeesirin/jpsirin5.htm
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
เป็นจำปีที่ขึ้นได้ดีในพื้นที่ชื้นแฉะ
ข้อแนะนำ:
โดยการกำเนิดที่ป่าพรุน้ำจืด จำปีสิรินธรจึงเป็นจำปีที่มีความต้องการความชื้นของดินที่ปลูกมากกว่าจำปีทั่วไป  ดังนั้นบริเวณโคนต้นควรมีวัสดุหรือพืชคลุมดินจะช่วยให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
จำปีสิรินธรมีความต้องการน้ำมากกว่าจำปีทั่วไป
เป็นจำปีที่ออกดอกยากกว่าจำปีชนิดอื่นๆ (ข้อมูลจากสวนไม้หอมฯ)
ข้อมูลอื่นๆ:
พบในป่าดิบที่มีลักษณะเป็นพรุน้ำจืดที่ป่าซับจำปา ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี และป่าพรุน้ำจืด ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย
พบโดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น นักวิชาการระดับ 10 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.)
ดอก ใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงหัวใจ มีทรงพุ่มสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งโชว์ทรงพุ่ม สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ควรสนับสนุนให้ปลูกเพื่อนำมาร้อยมาลัย เพราะดอกใหญ่กว่าจำปีทั่วไปมาก
หมายเหตุ:
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้ยืนต้น สูง 20–25 ม. ลำต้นเปลาตรง ต้นแก่เปลือกแตก เป็นร่องตามยาว กิ่งอ่อนมีแผลระบายอากาศชัดเจน
ใบ ใบรูปรี กว้าง 7-10 ซม. ยาว 14-20 ซม. ปลายมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2.5-4.5 ซม.
ดอก ดอกสีขาวนวล ออกเดี่ยว ตั้งขึ้นตามซอกใบ ใกล้ปลายยอด ยาว 2.5-3.5 ซม. ก้านดอกยาว 1.8 ซม. กลีบดอกมี 12-15 กลีบ เรียงเป็นชั้นละ 3 กลีบ ปลายกลีบมน
ผล ผลเป็นผลกลุ่ม ช่อยาว 4-6 ซม. รูปกลม มีผลย่อย 15-25 ผล เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ขนาด 4-6 มม.
เอกสารอ้างอิง:
1. BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization, Ministry of Environment and Natural Resources, Thailand
2. http://www.rspg.org/jumpeesirin/jpcont.htm
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001. 810 p. (341)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท  และไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม