ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
พิกุล
 
พิกุล
ชื่ออื่นๆ: กุน (ภาคใต้) แก้ว (ภาคเหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช) พิกุลป่า (สตูล) พิกุลเขา
ชื่อสามัญ: Bullet wood, Headland flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops elengi L.
วงศ์: Sapotaceae
ถิ่นกำเนิด: เอเซียแถบประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย ไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดกลาง ทรงพุ่มกลม
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวันตลอดคืน
การขยายพันธุ์:
ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมคือ การเพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา ดอกสวยงาม
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่อดทนต่อสภาพแวดล้อม และสามารถปลูกได้ในพื้นที่ดินเค็มได้ดีชนิดหนึ่ง
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต ควรปลูกกลางแจ้ง
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอก มีน้ำมันหอมระเหย saponin และ alkaloid น้ำสกัดดอกพิกุลแห้งมีฤทธิ์ทางขับปัสสาวะในสุนัขที่สลบ และทำให้ความดันโลหิตลดลง การเต้นของหัวใจลดลง แม้ว่าจะนำน้ำสกัดดอกพิกุลที่เอาเกลือโปตัสเซี่ยมออก ไปทดลองขับปัสสาวะในสุนัข หนูขาวปกติ และหนูขาว
ที่ตัดต่อมหมวกไตออก ก็ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และฤทธิ์ของน้ำคั้นดอกพิกุลไม่แตกต่างจาก spironolactone เมื่อทดลองในหนูที่ตัดต่อมหมวกไตออก
เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดลพบุรี
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพิกุลทองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันจันทร์ หรือวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่า การปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี เพราะพิกุลเป็นชื่อที่เหมาะสำหรับสุภาพสตรี
ประโยชน์อื่นๆ ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ขุดเรือ ทำสะพาน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เป็นต้น
ลำต้นมักมีเชื้อราทำให้เป็นโรคเนื้อไม้ผุ และมักโค่นล้มง่ายเมื่อมีพายุ ในต้นที่มีอายุมากบางต้นพบว่าเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "ขอนดอก" เชื่อกันว่าเกิดจากเชื้อราบางตัว ขอนดอกก็นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล
เอกสารอ้างอิง:
1. ราชบัณฑิตยสถาน.  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.  นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546.  1,488 หน้า (786)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท  และไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม