|
กระทุ่มนา |
ชื่ออื่นๆ: |
กระทุ่มดง (กาญจนบุรี) กระทุ่มนา กระทุ่มน้ำ (กลาง) กาตูม (เขมร-ปราจีนบุรี) ตำ (เขมร-สุรินทร์) ตุ้มแซะ ตุ้มน้อย ตุ้มน้ำ (เหนือ) ถ่มพาย (เลย) ท่อมขี้หมู (สงขลา) ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี) โทมน้อย (เพชรบูรณ์) กระท่อมขี้หมู |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Mitragyna diversifolia Wall. Ex. G. Don. |
วงศ์: |
RUBIACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ไทย อินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย |
ลักษณะทั่วไป: |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ ทรงพุ่มกลมคล้ายเห็ดใกล้บาน แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น |
ฤดูการออกดอก: |
ในรอบปีที่ผ่านมาที่สวนไม้หอมฯ ออกดอก มิ.ย. - ก.ค. ดอกทยอยบานกระจายทั่วต้น |
เวลาที่ดอกหอม: |
กลิ่นหอมอ่อนตลอดวัน |
การขยายพันธุ์: |
|
เพาะเมล็ด สามารถทำได้แต่ใช้เวลานานกว่าการตอนกว่าจะได้เห็นดอก แต่ก็มีข้อดีที่มีระบบรากแก้วที่แข็งแรงกว่าและทรงต้นที่สวยกว่า |
|
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายที่สุด จากการทดลองอัตราการออกรากสูงมาก 80 - 100% |
|
ปักชำ ยังไม่มีข้อมูล |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่ชายน้ำ |
|
ทรงพุ่มสวยงามโดยไม่ต้องมีการตัดแต่ง |
|
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน (3 ปีย้อนหลังไม่พบการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช) |
|
ข้อแนะนำ : |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการเจริญเติบโตมาก ผู้รวบรวมเคยพบที่สมุทรสงคราม รัศมีทรงพุ่มไม่ต่ำกว่า 5 ม. สูงกว่า 10 ม. |
|
การปลูกบริเวณพื้นที่ริมน้ำจะเจริญเติบโตได้ดีมาก |
|
การปลูกในที่มีแดดไม่พอเพียงจะทำให้ได้ต้นที่มีทรงพุ่มไม่สวยงาม |
|
ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจมีไม่มาก แต่ในด้านการอนุรักษ์ก็ไม่ควรมองข้ามเนื่องจากไม้ชนิดนี้กำลังลดปริมาณลงเรื่อยๆ |
|
ผู้ที่สนใจเริ่มปลูกไม้หอมและดินที่ปลูกไม่ดีนักและมีน้ำเพียงพอก็สามารถปลูกได้ แต่ไม่ควรปลูกมากเนื่องจากเป็นไม้หอมที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ใบ เมื่อเคี้ยวมีรสขม มีอัลคาลอยด์หลายชนิด ช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดประสาทและกล้ามเนื้อในสัตว์ทดลอง |
|
เปลือกต้น รสฝานร้อน รักษาโรคผิวหนังทุกชนิด แก้มะเร็งคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด |
|
หมายเหตุ: |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ลำต้น |
ไม้ต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 8-15 ม. หูใบร่วมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 1-1.5 ซม. มีขนด้านนอก สันกลาง หูใบร่วงง่าย |
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี ยาว 5-16 ซม. ปลายใบมนหรือกลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบข้างละ 10-15 เส้น เรียงเป็นเส้นทะแยงมุมชัน 10-30 องศา จากเส้นกลางใบ มีตุ่มใบเป็นขน ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม |
ดอก |
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น เรียงคล้ายช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ หรือคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามปลายกิ่ง ใบประดับขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายใบ ติดบนก้านช่อด้านล่าง ช่อดอกย่อยมี 5-15 ช่อ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย ยาว 2-3 มม. ดอกจำนวนมาก มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันรูปถ้วย ยาวประมาณ 1.5 มม. ปลายจักรูปสามเหลี่ยมตื้นๆ หรือปลายตัด กลีบดอกสีเหลืองนวล เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 3-4 มม. มีขนหนาแน่นด้านใน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2.5-3.5 มม. โคนด้านในมีขน เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 มม. อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านและยอดเกสรเพศเมียยื่นเลยปากหลอดกลีบดอก 6-7 มม. บานออก ยอดเกสรยาวประมาณ 2 มม. |
ผล |
ผลแบบผลแห้งแตก ช่อผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3-1.8 ซม. ผลย่อย รูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. เกลี้ยง เมล็ดจำนวนมาก ขนาดเล็ก |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2540. ไม้ดอกหอม เล่ม 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. พิมพ์ครั้งที่ 5. 160 หน้า (26) |
2. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (9) |
3. |
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1, 488 หน้า (43) |
4. |
BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization, Ministry of Environment and Natural Resources, Thailand |
5. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (362) |
6. |
The Encyclopedia of Plants in Thailand (สารานุกรมพืชในประเทศไทย) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|