|
คัดเค้า |
ชื่ออื่นๆ: |
คัดเค้าเครือ คัดเค้าหนาม เค็ดเค้า จี้เค้า พญาเท้าเอว คันเค่า (อีสาน) หนามเล็บแมว |
ชื่อสามัญ: |
Siamese randia |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Oxyceros horridus Lour. |
วงศ์: |
Rubiaceae |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มรอเลื้อย รูปแบบทรงพุ่มไม่แน่นอน มีหนามแหลมใช้เกี่ยวพันกับพันธุ์ไม้อื่นที่อยู่ใกล้ๆ ได้ดี |
ฤดูการออกดอก: |
ปลายฤดูฝน - กลางฤดูหนาว (ต.ค. - ธ.ค.) |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมตลอดวัน แต่หอมมากช่วงแดดอ่อนหรืออุณหภูมิต่ำ |
การขยายพันธุ์: |
|
ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการทดลองขยายพันธุ์ แต่จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีหนามแหลมคมมาก สามารถใช้ปลูกเป็นแถวเพื่อทำรั้วป้องกันคนหรือสัตว์ผ่านได้ |
|
ดอกมีกลิ่นหอมแรงและออกดอกพร้อมๆ กันเกือบทั้งต้น เวลาออกดอกจะสวยงามมาก |
|
ต้องการน้ำไม่มากในการเจริญเติบโต |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกได้ดีทั้งที่มีแดดจัดเต็มวัน และแดดปานกลาง (ครึ่งวัน) ได้ดีชนิดหนึ่ง |
|
ข้อแนะนำ: |
|
การปลูกคัดเค้าให้สวยงามต้องคอยตัดแต่งทรงพุ่มสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขามาก และไม่มีรูปทรงที่แน่นอน |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ทั้งต้น รสเฝื่อนฝาด แก้เสมหะ แก้ไข้ เปลือกต้น รสฝาด ปิดธาตุแก้เสมหะ แก้โลหิตซ่าน |
|
ใบ รสเฝื่อนเมา ดอก รสขมหอม แก้โลหิตในกองกำเดา |
|
ผล รสเฝื่อนปร่า ขับโลหิตประจำเดือนเสีย บำรุงโลหิต บำรุงผิวให้ผ่องใส |
|
ราก มีรสฝาด แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้เลือดออกตามไรฟัน |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. -- กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 2546. 1,488 หน้า (239) |
2. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (446) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|