|
รวงผึ้ง |
ชื่ออื่นๆ: |
ดอกน้ำผึ้ง (เหนือ) น้ำผึ้ง (กรุงเทพ) |
ชื่อสามัญ: |
Yellow star |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Schoutenia glomerata king subsp. Paregrina (Craib) Roekm. Et Martono |
วงศ์: |
Tiliaceae |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย (พบมากทางภาคเหนือ) |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ หากอยู่กลางแจ้งจะเป็นพุ่มกลมขนาดใหญ่ |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกประมาณเดือน ธ.ค. - ก.พ. (ในกรณีที่ได้รับน้ำตามธรรมชาติเท่านั้น) |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมอ่อนตลอดวัน (7 - 10 วัน) |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสม ที่สวนไม้หอมฯ ได้ทำการทดลองแล้วมีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งรากจึงจะได้ผลดีในการขยายพันธุ์ |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ออกดอกครั้งละมากๆ (เต็มต้น) เมื่อดินแห้งตามธรรมชาติ |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีช่วงการปลูกกว้าง สามารถขึ้นได้ดีทั้งที่แห้งแล้งและที่ค่อนข้างชื้น |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ต้องการการดูแลมาก ใบไม่ค่อยร่วง |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากดีมาก ไม่มีการหักโค่นของต้นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะเป็นกิ่งที่ได้จากการตอน |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เนื่องจากมีการออกดอกครั้งละมากๆ และมีผึ้งตอมเป็นจำนวนมาก ผึ้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปลูก |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ออกดอกในระยะสั้นเพียง 7 - 10 วัน/ครั้ง/ปี เท่านั้น |
|
ในพื้นที่ที่มีน้ำมาก รวงผึ้งจะไม่ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น |
|
การเลือกต้นรวงผึ้งที่ถูกต้อง ควรเป็นกิ่งกระโดงที่ตรง จะทำให้การเจริญเติบโตดี ทรงต้นสวยงามกว่ากิ่งที่ตอนมาจากส่วนอื่นๆ ของต้น |
|
ผู้ที่สนใจจะอนุรักษ์ ควรปลูกไว้สัก 1 คน ในอนาคตอาจทำเงินตอบแทนผู้ปลูกได้ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
เป็นพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มออกดอกให้ชม |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่เริ่มลดน้อยลงเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกช้า ช่วงการออกดอกไม่นาน และต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากๆ ไม่ค่อยตรงกับนิสัยคนไทยมากนัก หากไม่ชอบรวงผึ้งจริงๆ ก็ไม่ควรปลูก จะได้ไม่เสียเวลาเปล่า |
|
ต้นรวงผึ้ง เป็นต้นไม้ประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องด้วยดอกรวงผึ้งมีสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ และผลิดอกช่วงวันพระราชสมภพพอดี เมื่อพระองค์เสด็จฯ กอปรพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่างๆ ก็จะทรงปลูกต้นรวงผึ้งพระราชทานไว้ เพื่อเป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|