|
พะยอม |
ชื่ออื่นๆ: |
กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แดน (เลย) เชียง เซี่ย (เชียงใหม่) สุกรม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี) ยางหยวก (น่าน) |
ชื่อสามัญ: |
Phayom |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Shorea roxburghii G. Don. |
วงศ์: |
DIPTEROCARPACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย และเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ทรงพุ่มกลมสวยงามมาก หากอยู่ในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่อยู่ใกล้เคียง ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตัดแต่งกิ่งออกเลยตลอดอายุการปลูก (สวยด้วยธรรมชาติปราศจากการแต่งเติม) |
ฤดูการออกดอก: |
ปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (ม.ค. - เม.ย.) |
เวลาที่ดอกหอม: |
ตอนเย็นแดดอ่อนถึงมืด |
การขยายพันธุ์: |
|
การเพาะเมล็ด แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดเนื่องจากที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการติดเมล็ด |
|
การตอนกิ่ง จะออกรากยาก แต่เป็นวิธีที่จะทำให้ออกดอกในกระถางได้ (ยังไม่ได้ทดลอง) |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้ง ผู้ที่สนใจจะปลูกไม้หอมที่อยู่ในเขตแห้งแล้งและยังไม่มีระบบชลประทานเข้าถึง ไม่ควรมองข้ามพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ |
|
ถึงแม้ว่าจะออกดอกเพียง 1 ครั้ง/ปี แต่ดอกสวยงามมาก และออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ (ปัจจุบันชาวสวนไม่ค่อยมีพะยอมใส่ในน้ำตาลสดกันแล้ว) |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เป็นไม้หอมที่ทดสอบความอดทนของผู้ปลูกได้ดีชนิดหนึ่ง เพราะว่าเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ชมดอก |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกจากยอดอ่อนที่แตกใหม่ การทำให้แตกใบใหม่จะทำให้ออกดอกได้ |
|
เวลาเห็นต้นพะยอมใบร่วงเกือบทั้งต้นในช่วงประมาณเดือน ธ.ค. ไม่ต้องตกใจ และไม่ควรให้น้ำและปุ๋ยในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะจะทำให้ใบไม่ร่วงทั้งหมดและไม่แตกใบอ่อนพร้อมๆ กันทั้งต้น |
|
ภายหลังจากที่ใบแก่ร่วงหมดต้นแล้วและเห็นใบที่เริ่มแตกใหม่ ควรให้น้ำและปุ๋ยทันที จะช่วยให้มีใบแตกใหม่จำนวนมาก และออกดอกครั้งละมากๆ |
|
เนื่องจากพะยอมเป็นไม้โตช้าและออกดอกน้อยครั้ง/ปี ผู้ที่เริ่มสนใจไม้หอมและผู้ที่เล่นไม้หอมไม่ค่อยสนใจไม้พันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำเงินได้จำนวนมากในเวลาสั้นๆ ได้ พันธุ์ไม้ชนิดนี้จึงเหมาะกับผู้ที่รักไม้หอมจริงๆ เท่านั้น |
|
พะยอม เป็นไม้หอมที่ไม่ค่อยชอบดินเค็ม ผู้ที่อยู่ในเขตดินเค็มหากต้องการปลูกพะยอม ต้องคอยระวังในเรื่องการดูแลรักษาในช่วงฤดูร้อน ที่มักพบอาการปลายใบไหม้และแห้งตาย เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เกลือที่อยู่ในดินชั้นล่างๆ จะถูกดึงขึ้นมาเนื่องจากการระเหยของน้ำที่ผิวดินมีมากกว่าปกติ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ดอก ผสมยาแก้ไข้และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ |
|
ดอกอ่อน นำมารับประทานสด หรือนำมาลวกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก |
|
เปลือก ต้น มี tannin มาก ใช้เป็นยาฝาดสมานลำไส้ แก้ท้องเดิน |
|
เนื้อไม้ สีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ใช้ก่อสร้างทั่วไป เช่น เสา รอด ตง พื้น ฝา และไม้หมอนรถไฟ เป็นต้น |
|
ชาวสวนมะพร้าวที่ปลูกมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาลปีบที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี เพชรบุรี ใช้เปลือกและเนื้อไม้สับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าว ในข้อนี้ ผู้รวบรวมทราบดีมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ (ผู้รวบรวมเกิดที่ ต. นางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม) |
|
พะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะพะยอม คือ การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน ประณีประนอม นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสน เพราะบุคคลทั่วไปให้ความเห็นใจและยอมให้ในสิ่งที่ดีงาม และยังเชื่ออีกว่าถ้าปลูกต้นพะยอมทองก็จะทำให้ไม่ขันสนเงินทอง |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (147) |
2. |
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า (778) |
3. |
http://www.maipradabonline.com/maimongkol/payom.htm |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|