|
กระดังงาไทย |
ชื่ออื่นๆ: |
กระดังงา (ตรัง ยะลา) กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (กลาง) สะบันงา สะบันงาต้น (เหนือ) |
ชื่อสามัญ: |
Ylang-ylang tree, Ilang-ilang |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et Thomson var. ordorata Canangium odoratum (Lam.) Baill. ex King Uvaria odorata Lam. (basionym)
|
วงศ์: |
ANNONACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ไทย |
ลักษณะทั่วไป: |
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง - ใหญ่ พุ่มโปร่ง |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมแรงช่วงพลบค่ำ |
การขยายพันธุ์: |
![](../../images/bt01.gif) |
การตอนกิ่ง สามารถทำได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากิ่งเปราะ หักง่าย |
![](../../images/bt01.gif) |
การเพาะเมล็ด ทำได้ง่าย เป็นวิธีที่นิยมกันมาก |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
![](../../images/bt01.gif) |
ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก เหมาะที่จะปลูกใกล้ๆ บ้าน |
![](../../images/bt01.gif) |
มีความทนทานกับสภาพแวดล้อมได้ดีและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน |
![](../../images/bt01.gif) |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่สามารถปลูกเลี้ยงได้ไม่ยากนัก เหมาะกับผู้ที่เริ่มปลูกพันธุ์ไม้หอมมือใหม่ |
![](../../images/bt01.gif) |
ราคาของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไม่แพง เพราะมีการปลูกกันมานานแล้ว |
|
ข้อแนะนำ: |
![](../../images/bt01.gif) |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการปลูกมาก ประมาณ 16 ตรม. และต้องการแดดจัด การปลูกในที่ร่มจะมีผลต่อการติดดอกออกผล ที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ ต้นที่มีร่มเงาของไม้หอมชนิดอื่นๆ มีใบและลำต้นสวยงามกว่าต้นที่อยู่กลางแจ้ง แต่ไม่พบการติดดอกออกผล |
![](../../images/bt01.gif) |
กระดังงาไทยที่ได้จากการเพาะเมล็ดเมื่อปลูกจะเจริญเติบโตเร็วมาก ที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ เมื่อปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 ม. จึงจะออกดอก |
![](../../images/bt01.gif) |
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ส่งกลิ่นหอมแรง การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้บริเวณต้นทางที่ลมพัดผ่าน จะทำให้ผู้ปลูกได้สัมผัสกับกลิ่นของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้โดยตรง |
![](../../images/bt01.gif) |
ตำรายาไทยใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในเกสรทั้งเจ็ด คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม มีการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยดอกมีฤทธิ์ไล่แมลงบางชนิด Traditional Use Leaf and wood: diuretic |
![](../../images/bt01.gif) |
สารสำคัญ : น้ำมันหอมที่สกัดได้จากดอกเรียกว่า Cananga oil หรือ Ylang-ylang oil ประกอบด้วย Caryophyllene, Benzyl acetate, Benzyl alcohol, Farnesol, Terpineol, Borneol, Geranyl acetate, Safrol, Linalol, Limonene, Methyl salicylate เป็นต้น |
![](../../images/bt01.gif) |
สรรพคุณ : น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอก ใช้ในทางยา เป็น Aromatherapy สำหรับเป็นยาฆ่าเชื้อโรค แก้อาการซึมเศร้า แก้อาการกระวนกระวาย ช่วยสงบประสาท บำรุงประสาท ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ขับลม แก้หืดหอบ และยังใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ทำเครื่องหอมต่างๆ กระดังงาสกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis |
![](../../images/bt01.gif) |
สรรพคุณของกระดังงาไทยแบ่งตามส่วนต่างๆ มีดังนี้ เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ดอก รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ น้ำมันหอม ใช้ปรุงน้ำหอม ปรุงขนมและอาหาร |
|
หมายเหตุ: |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ลำต้น |
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 30 ม. เปลือกสีเทา กิ่งออกหนาแน่นใกล้ยอด กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มกระจาย |
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบส่วนมากกลม มักเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างบาง มีขนสั้นนุ่มตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบ 8-9 เส้นในแต่ละข้าง ตรง เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดห่างๆ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกสั้นๆ ตามกิ่งหรือซอกใบ มีขนสั้นนุ่ม ก้านช่อยาว 2-3 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 2-5 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย |
ดอก |
ดอกมีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน รูปไข่ ปลายแหลม พับงอ ยาวได้ประมาณ 7 มม. มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบดอก 6 กลีบ รูปแถบ มีก้านกลีบสั้นๆ กลีบยาวเท่าๆ กัน ยาว 5-7.5 ซม. ปลายกลีบแหลม เส้นกลีบจำนวนมาก มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 3 มม. อับเรณูติดด้านข้าง ปลายมีระยางค์เป็นติ่งสั้นๆ ยาวประมาณ 1 มม. รังไข่รูปขอบขนาน เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียรูปถ้วย เป็นชั้นบางๆ เรียงชิดรังไข่ติดจานฐานดอกเป็นรูปหมวก |
ผล |
ผลย่อยรูปของขนานแกมรูปไข่ ยาว 1.5-2.3 ซม. เกลี้ยง สุกสีดำ ก้านผลย่อยยาว 1.2-1.8 ซม. เมล็ด 2-12 เมล็ด เรียง 2 แถว สีน้ำตาล ผิวเป็นจุดๆ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมุนไพรสวนสิริรุกขชาติ บริษัท บุญรอดบริเวอรรี่ จำกัด 2535. |
2. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า. (10) |
3. |
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า. (31) |
4. |
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=963&gid=3 |
5. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (102) |
6. |
The Encyclopedia of Plants in Thailand (สารานุกรมพืชในประเทศไทย) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|