ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
กระถินณรงค์
 
กระถินณรงค์
ชื่อสามัญ: Northern black wattle (English), Darwin black wattle, Tan wattle, Ear-pod wattle, Wattle (Australia), Australian babul, kasia, Akashmoni, Sonajhuri (India), Ngarai, Unar (Papua New Guinea)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia auriculiformis Cunn.
วงศ์: LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศปาปัวนิวกินี
ลักษณะทั่วไป: เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ จึงเห็นใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี ขนาดกลาง - ใหญ่ ความสูง 10 - 30 ม.
ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่และสภาพภูมิอากาศ ใบเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ในสภาพพื้นที่แล้งจะมีลำต้นคดงอ แตกกิ่งก้านมาก แต่ในสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมจะมีลำต้นตรงมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 80 ซม.
ฤดูการออกดอก: ออกดอกเกือบตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด เป็นวิธีที่นิยม เนื่องจากมีเมล็ดมาก และ % การงอกสูง
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
bt01 เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีระบบรากที่สามารถสะสมไนโตรเจนได้
bt01 ใช้ปลูกเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมภายหลังจากการทำไร่เลื่อนลอย หรือปลูกเพื่อป้องกันการชะล้างผิวหน้าดิน
ข้อแนะนำ: ปลูกง่าย โตเร็ว ทนแล้ง และทนน้ำท่วมขังแฉะ จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ให้ความสวยงามตามที่สาธารณะ ถนนหนทาง หรือตามชายหาดทะเล
ข้อมูลอื่นๆ:
bt01 เป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศโดย ขุนณรงค์ ชวนกิจ (ชวนนรงค์ ชวนะ)
bt01 ส่วนเปลือกให้น้ำฝาดแทนนินใช้ในอุตสาหกรรมการฟอกหนังสัตว์
bt01 ให้เนื้อไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ดีมาก เพราะให้ความร้อนสูง
ถ้านำไปเผาถ่านจะได้ถ่านที่มีคุณภาพดี ถ่านที่ได้จากไม้กระถินณรงค์เมื่อนำไปใช้จะไม่แตก
ไม่มีควัน และติดไฟได้ดี กระถินณรงค์จึงเป็นไม้ที่เหมาะสำหรับการปลูกเป็นป่าฟืนเพื่อใช้สอยในครัวเรือน
bt01 เป็นไม้ที่มีแก่น เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน ความแข็งแรงปานกลาง นำมาเลื่อยตกแต่งได้ง่าย
และมีการยืดหดตัวน้อยมาก เหมาะที่จะนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และพื้นปาร์เก้ ถึงแม้ว่า
กระถินณรงค์โดยทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยตรง แต่สามารถนำมาใช้ทำพื้นปาร์เก้ได้เพราะการทำ
ไม้ปาร์เก้ใช้ไม้ขนาดสั้น
bt01 สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมกระดาษได้ เพราะเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้กระถินณรงค์
มีความเหนียวดีพอสมควร
เอกสารอ้างอิง:
1. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  2542.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย.  บริษัท รวมสาร (1977) จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 5 981 หน้า. (19)
2. http://www.dnp.go.th/EPAC/plant_economic/01krathinnarong.htm
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม