ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ปาล์มน้ำพุ
 
ปาล์มน้ำพุ
ชื่ออื่นๆ: หมากออสเตรเลีย ปาล์มคาเพน ปาล์มคาเพนทาเรี่ย
ชื่อสามัญ: Carpentariapalm
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carpentaria acuminate (H. Wendl. & Drude) Becc.
วงศ์: PALMAE (ARECACEAE)
ถิ่นกำเนิด: ออสเตรเลีย
ลักษณะพฤกษศาสตร์: เป็นไม้ใบเลี้ยงเดี่ยวยืนต้น มีอายุหลายปี รากแผ่กระจายรอบลำต้นเป็นบริเวณกว้าง ลำต้นสีเทา เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 ชม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอกออกเป็นช่อสีครีมอ่อนมีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อผลเรียกทลาย ผลย่อยทรงกลมรีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เมื่อแก่เต็มที่สีแดงสด เมล็ดสีครีมอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม.
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด
การปลูก:
ปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ เป็นแนวขนานกับเส้นทางหรือขอบอาคาร
ปลูกในลักษณะเป็นเส้นแนวต่างๆ
ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 6 ม.
การดูแลรักษา:
ปลูกประดับในส่วนที่มีแสงแดดส่องเข้าถึงตลอดทั้งวัน
ปลูกประดับในสนาม หรือขอบแนวอาคาร โดยมีระยะห่างจากขอบอาคารไม่น้อยกว่า 5 ม.
การใช้ประโยชน์ด้าน
ภูมิสถาปัตย์:
ให้ความรู้สึกของขอบเขตในแนวตั้งแบบกระจายไม่หนาแน่น เนื่องจากปาล์มชนิดนี้มีใบอยู่ในจังหวะที่สูง
ให้ความรู้สึกของเสารั้วที่ไม่แข็งจนเกินไป เนื่องจากลำต้นของปาล์มชนิดนี้มีขนาดไม่ใหญ่นักและเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อถูกลมพัด
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย: รัตนะ สุวรรณเลิศ
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม