ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
สุพรรณิการ์ (ดอกซ้อน) สุพรรณิการ์ (ดอกซ้อน)
 
สุพรรณิการ์ (ดอกซ้อน)
ชื่ออื่นๆ: ฝ้ายคำ
ชื่อสามัญ: Yellow silk, Cotton tree, Butter-Cup (Double), Torchwood
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์: COCHLOSPERMACEAE
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป: ไม้ประดับยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 - 15 ม. ทรงพุ่มไม่แน่นอน
ฤดูการออกดอก: ในรอบปีที่ผ่านมาออกดอกเดือน ม.ค. - ก.พ.
การขยายพันธุ์:
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้ (ยังไม่มีข้อมูลในการปฏิบัติ)
การปักชำ กิ่งที่ใช้ปักชำควรมีสีน้ำตาล ใช้เวลาปักชำ 2 - 3 เดือน นำไปปลูกได้
การตอน ทำในฤดูฝน กิ่งที่ใช้ควรมีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลา 1 - 2 เดือน จึงออกราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้: ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น เมื่อใกล้ออกดอก ใบส่วนใหญ่จะร่วงเกือบทั้งหมด
ข้อแนะนำ:
ไม่ทนทานต่อการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง
เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีกิ่งเปราะ หักง่าย เมื่อโดนลมแรง
ข้อมูลอื่นๆ:
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542 ปลูกที่บริเวณหน้าอาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ยาง จากต้นให้ผลิตผลเป็น Karaya gum หรือทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนผลึกสีเหลืองอ่อน หรือน้ำตาลอมชมพู ใช้เป็นยาระบาย เป็นส่วนผสมในน้ำยาเซทผม เป็นยาทาบำรุงผิว ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผสมไอศกรีมทำให้ข้น
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก
เนื้อไม้ ต้มกับแป้งเป็นอาหาร
ใบอ่อน ใช้สระผม
ดอกแห้งและใบแห้ง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2542 (834)
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (141)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม