|
แก้วเจ้าจอม |
ชื่อสามัญ: |
Kaeo chao chom, Lignum vitae |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Guaiacum officinale L. |
วงศ์: |
ZYGOPHYLLACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส นำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก - กลาง ทรงพุ่มค่อนข้างกลม |
การขยายพันธุ์: |
การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากมี % ความงอกสูง และมีการติดเมล็ดมาก |
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามโดยธรรมชาติ ไม่มีความจำเป็นในเรื่องการตัดแต่งทรงพุ่ม |
|
เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีมนต์เสน่ห์ที่ทรงพุ่มสวยงามตลอดปี |
|
มีช่วงอายุการใช้ประดับได้นานมากว่า 25 ปี หรืออาจมากกว่านี้ (ข้อมูลจากการปลูกที่ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ) |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบขนาดเล็ก และใบจะทยอยร่วงเกือบตลอดเวลาแต่ครั้งละน้อยๆ จนเราแทบไม่รู้สึกว่ามีการร่วงของใบ |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้ดีในเกือบทุกสภาพดิน |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีทรงพุ่มกลม การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า และต้องการแสงแดดเต็มวัน จึงไม่ควรปลูกใกล้กับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น เพราะจะทำให้ต้นสูงชะลูดไม่ได้รูปทรง ความหนาแน่นของใบจะลดลงมาก |
|
แก้วเจ้าจอมมีความต้องการน้ำในระดับปานกลางเท่านั้น การรดน้ำมากหรือน้อยเกินไปจะไม่มีผลดีกับแก้วเจ้าจอม |
|
การเพาะเมล็ดแก้วเจ้าจอมควรรีบทำเมื่อเมล็ดเริ่มร่วงจากต้น เมล็ดจะสูญเสียความงอกรวดเร็วหากไม่ทำการเพาะเมล็ด |
|
แก้วเจ้าจอมจะสวยงามมากหากปลูกในสนามหญ้าหรือพื้นที่โล่งแจ้ง และมีแสงแดดเพียงพอ |
|
ระยะปลูกที่แนะนำ คือ 5 X 5 ม. (ข้อมูลจากทรงพุ่มที่ยังไม่มีการตัดแต่ง 25 ปี) |
|
แก้วเจ้าจอมที่ขายในตลาดต้นไม้ทั่วไปมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบเพาะเมล็ดและย้ายปลูกในภาชนะปลูกขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ และอีกแบบหนึ่งก็คือ เป็นแก้วเจ้าจอมที่ปลูกลงพื้นดินเมื่อได้ขนาดตามต้องการจะใช้วิธีการขุดล้อมออกจากพื้นที่ (การบอน) ทั้งสองชนิด มีข้อดีแตกต่างกันออกไปคือ |
|
|
แบบเพาะเมล็ดและย้ายปลูก จะได้แก้วเจ้าจอมที่ค่อนข้างแข็งแรง ทรงพุ่มได้สัดส่วน ดูแลรักษาภายหลังปลูกง่าย การเจริญเติบโตภายหลังปลูกรวดเร็ว แต่ก็มีข้อจำกัดที่ขนาดของต้นจะค่อนข้างเล็ก เหมาะกับผู้ที่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ชนิดนี้ |
|
แบบปลูกลงพื้นดินและทำการบอนขึ้นมาปลูก วิธีนี้จะได้แก้วเจ้าจอมที่มีขนาดใหญ่ตามจำนวนเงินที่ท่านมี วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการต้นไม้ขนาดใหญ่ในทันที การดูแลรักษาแก้วเจ้าจอมภายหลังปลูกจะต้องดูแลรักษาอย่างดีในช่วง 1 ปีหลังการย้ายปลูก |
|
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
แก้วเจ้าจอมที่ศูนย์ปฏิบัติการการวิจัยฯ มี 2 ชนิดคือ ชนิด 6 ใบ และชนิด 4 ใบ |
|
แก้วเจ้าจอมชนิด 6 ใบ มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าแก้วเจ้าจอมชนิด 4 ใบ |
|
แก้วเจ้าจอมชนิด 6 ใบ มีราคาถูกกว่าแก้วเจ้าจอมชนิด 4 ใบ (ขนาดต้นและทรงพุ่มเท่ากัน) |
|
ในทรรศนะของผู้รวบรวม จะเลือกปลูกแก้วเจ้าจอมที่ได้จากการเพาะเมล็ดและย้ายลงถุงขนาดเล็ก เพราะว่าราคาจะถูกกว่าแบบที่บอนมาปลูก การดูแลรักษาภายหลังการปลูกง่ายกว่า |
|
หมายเหตุ: |
ข้อมูลนี้เป็นแก้วเจ้าจอมชนิด 6 ใบ |
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|