|
เข็มชมพูแคระ |
ชื่ออื่นๆ: |
เข็มพิษณุโลกชมพู |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Ixora hybrid |
วงศ์: |
RUBIACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
Trop. Africa, Asia, Australia, S. Pacific Is. |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ |
ฤดูการออกดอก: |
ตลอดปี |
การขยายพันธุ์: |
การตอน การปักชำ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด |
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม ต้องการน้ำในระดับปานกลาง - น้อยได้ดีชนิดหนึ่ง |
|
มีข้อปล้องถี่ ทำให้การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ไม่มีความจำเป็นต้องตัดแต่งมากนัก |
|
ออกดอกตลอดปี สีสันสวยงาม ราคาถูก |
|
ข้อแนะนำ: |
|
ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งขนาดเล็กได้ดี |
|
พันธุ์ไม้ในกลุ่มนี้เมื่อมีการออกดอกจำนวนมาก เมื่อดอกโรยควรมีการตัดแต่งดอกที่โรยออกบ้าง จะทำให้มีดอกที่มีขนาดสมบรูณ์ตลอดเวลา |
|
เข็มชมพูแคระไม่ค่อยทนทานต่อสภาพดินเค็ม การปลูกในสภาพดินเค็มจะพบอาการใบเหลืองและมีดอกขนาดเล็กลง จากข้อมูลการปลูกเข็มในสวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ พบว่าในช่วงปีที่ 1 - 2 มีสภาพการเจริญเติบโตปานกลาง สีของใบไม่เขียวเข้มเท่าที่ควร ช่วงปีที่ 3- 4 จะแสดดงอาการใบเหลือง ดอกก็ออกน้อยลง ท่านใดที่ปลูกเข็มชนิดนี้และพบอาการดังกล่าว แนะนำให้ให้เปลี่ยนพืชนิดอื่นที่ทนสภาพดินเค็ม เช่น แก้วแคระ แทน เพราะเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใกล้เคียงกัน และที่สำคัญคือมีการออกดอกบ่อย และมีกลิ่นหอมแรงด้วย |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
Plant for Landscape Architectural uses in Thailand I |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|