|
ชบาหนู |
ชื่ออื่นๆ: |
ชบาหลอด ชบาร่ม |
ชื่อสามัญ: |
Turk's cap, Sleeping hibiscus, Wax Mallow |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Malvaviscus arboreus Cav. var. drummondii (Torr. & A.Gray) Schery. ชื่อพ้องอื่นๆ Malvaviscus drummondii |
วงศ์: |
MALVACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ทางใต้ของอเมริกา |
ลักษณะพฤกษศาสตร์: |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบอ่อนรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-13 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม ก้านใบยาว 0.8-1 ซม. ดอก สีแดงหรือสีชมพูอ่อน ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่งและห้อยลง กลีบดอกบางชั้นเดียว โคนกลีบดอกซ้อนเกยกันเป็นหลอดยาว 5-6 ซม. ปลายแยก 5 กลีบ ยอดเกสรเพศเมียสีแดง แยกเป็น 10 แฉก ดอกบานเต็มที่จะคลี่กลีบเพียงเล็กน้อย ผล ผลแห้งแตก |
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกเป็นพุ่มเดี่ยวจึงจะสวยงาม |
|
pH ของดิน Circumneutral (pH 6.8-7.2) |
|
ขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง หรือปักชำ ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท (087-166-5251) หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|