|
นนทรี |
ชื่ออื่นๆ: |
กระถินป่า กระถินแดง (ตราด) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน) อะราง ราง ตาเช็ก คางฮง |
ชื่อสามัญ: |
Yellow flamboyant, Copper pod peltophorum, Yellow poinciana |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Peltophorum ferrugineum Benth., Peltophorum inerme (Roxb.) Naves ex Villar, Peltophorum roxburghii (G.Don) Degener, Poinciana roxburghii G.Don, Inga pterocarpa DC. |
วงศ์: |
CAESALPINIOIDEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เอเชียเขตร้อน |
ลักษณะทั่วไป: |
เป็นไม้ยืนต้นและผลัดใบแต่ไม่ผลัดใบทั้งต้น ทรงพุ่มรูปร่มสูงได้ถึง 25 ม. |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกมากช่วง มีนาคม - มิถุนายน |
การขยายพันธุ์: |
โดยการเพาะเมล็ด %การงอกของเมล็ดค่อนข้างต่ำคือประมาณ 25% |
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ใบเป็นใบขนาดเล็กเวลาใบร่วงจะไม่รกพื้นที่ |
|
เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงเป็นพืชที่ปลูกเพื่อให้ดินดีขึ้น (จากใบที่ร่วงหล่นและรากสามารถตรึงไนโตรเจนได้) |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จึงต้องการพื้นที่ในการเจริญเติบโตมาก |
|
หากต้องการได้ต้นที่สวยงามต้องมีการตัดแต่งทรงพุ่มเป็นระยะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
|
นนทรีเป็นไม้กิ่งเปราะไม่ค่อยต้านทานลมแรง โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่มีการเจริญเติบโตของต้นมาก ในช่วงที่มีลมแรงกิ่งอาจหักลงได้ ไม่ควรปลูกใกล้อาคารหรือริมถนนเพราะอาจเกิดอันตรายต่อตัวอาคารและผู้ที่ใช้ถนนได้ |
|
ข้อมูลอื่นๆ:
|
|
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา นนทบุรี พิษณุโลก |
|
ต้นนนทรีที่ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ เป็นต้นไม้ที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นต้นนนทรีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ขณะนี้ต้นนนทรีนี้สูงประมาณ 22 ม. ทรงต้นสวยงาม หากสนใจที่จะชมต้นนนทรีนี้อย่าลืมแวะมาเยี่ยมกันนะครับ |
|
เปลือกต้น รสฝาดร้อน แก้ท้องร่วง ขับผายผม ขับโลหิต |
|
เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ตามประวัติดังนี้
ในปี พ.ศ. 2506 ทางสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 และมีมติให้อาจารย์อัญเชิญ ชมภูโพธิ์ หัวหน้าภาควิชาพืชศาสตร์ อาจารย์ปวิณ ปุณศรี อาจารย์แสงธรรม คมกฤส และอาจารย์เจือ สุทธิวนิช เป็นอนุกรรมการพิจารณาหาต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมาเสนอ ต่อมาในการประชุมของสมาคม เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 คณะอนุกรรมการได้เสนอต้นไม้ 4 ชนิด คือ นนทรี ทองกวาว ราชพฤกษ์ (คูน) และพิกุล และที่ประชุมได้ตกลงเลือกเอาต้นนนทรี เพราะเป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืน มีใบสีเขียวแก่ อันหมายถึง สีเขียวขจีของเกษตร และมีใบสีเหลืองทองและดอกสีเหลือง อันหมายถึงสีเหลืองของคณะเกษตร อันปรากฏอยู่ในคำกราบบังคมทูลของคุณหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปดังนี้คือ
"ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานในทุกสภาพอากาศของเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่า นิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถจะทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย" |
|
|
หมายเหตุ: |
ต้นที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นต้นที่อยู่หน้าศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ |
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
http://www.hear.org/gcw/html/autogend/species/14268.HTM |
2. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (402) |
3. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า. (10) |
4. |
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า. (560) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|