ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
โสกแดง โสกแดง
โสกแดง
โสกแดง
ชื่ออื่นๆ: โสกเขา เข็มแดง (กทม.,เหนือ)/ ชุมแสงควน (ยะลา)/ โรก (กาญจนบุรี)/ สมโสก (ตราด, นครราชสีมา)/ สาย (ชุมพร,สุราษฎร์ธานี)/ โสกดอน (ตรัง)
ชื่อสามัญ: Red Saraca, Kahuruan, Bakis
ชื่อวิทยาศาสตร์: Saraca declinata (Jack) Miq
ชื่อพ้อง
1. Jonesia palembanica Miq.
2. Saraca biglandulosa Pierre
3. Saraca crassifolia Ridl.
4. Saraca elegans Ridl.
5. Saraca lanceolata Merr.
6. Saraca lonistyla Ridl.
7. Saraca macroptera Miq.
8. Saraca macroptera var. parvifolia Prain.
9. Saraca macroptera var. paucijuga Craib
10. Saraca macroptera var. siamensis Craib
11. Saraca obtusifolia Miq.
12. Saraca palembanica (Miq.) Baker.
13. Saraca thorelii Gagnep.
14. Saraca triandra Baker.
วงศ์: FABACEAE Subfamily CAESALPINIOIDEAE
ถิ่นกำเนิด: Indo - China (Cambodia, Laos, Vietnam, Myanmar; Thailand, Malaysia, Indonesia, Brunei)
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ ออกดอกเป็นครั้งคราว ออกดอกตั้งแต่โคนต้นถึงปลายยอด ที่ปลายกิ่งเหมือนพู่ห้อย มีใบเขียวเข้มตลอดปี ในเมืองไทยพบบริเวณป่าดิบแล้ง บริเวณริมลำธาร ทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
ฤดูการออกดอก: มกราคม - เมษายน  ติดผล  พฤษภาคม - สิงหาคม
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  การตอน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ช่วงการออกดอกนาน จำนวนดอกมาก ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
สามารถออกดอกได้ตั้งแต่ลำต้นถึงปลายยอด
มีช่วงการออกดอกที่ใกล้เคียงกันเกือบทุกต้น สามารถปลูกประดับเป็นแถวยาวๆ ได้ดี
ข้อแนะนำ: ระยะปลูกที่แนะนำระหว่างต้น 3 เมตร
ข้อมูลอื่นๆ:
1. ต้นสูง 10 - 29 เมตร ขนาดลำต้น 10 - 60 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 - 6 เมตร
2. ความต้องการแสง  ตลอดวัน
3. ความชื้น  ปานกลาง
4. ระดับความสูงที่ปลูกได้  0 - 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะทาง

พฤกษศาสตร์::

ลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปทรงกระบอก ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ปลายคู่ เรียงสลับยาว 15 - 50 ซม. ใบย่อย 3 - 7 คู่ เรียงสลับ ใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 3.5 - 5.6 ซม. ยาว 10-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น ใบเกลี้ยง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ใบอ่อนสีม่วง เส้นแขนงใบข้างละ 5 - 7 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 0.5 ซม.
ดอก สีเหลืองแสดถึงสีแดง ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว 1 - 2 ซม. ที่ปลายแยกเป็นกลีบมน ๆ  4 กลีบ  เกสรเพศผู้ 4 อัน ยาว 3.5 ซม. ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10 - 20 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5 - 2 ซม. มีใบประดับสีชมพู 2 ใบ
ผล เป็นฝักแห้งแตก ทรงแบนโค้งรูปขอบขนาน กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 7 - 30 ซม. มีเพียงช่อละ 1 - 2 ฝัก  เมล็ด กลมแบนมี 1 - 4 เมล็ด
เอกสารอ้างอิง:
1. https://toptropicals.com/cgi-bin/garden_catalog/cat.cgi
2. https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3112
3. http://portal.cybertaxonomy.org/flora-malesiana/node/7049
4. http://www.theplantlist.org/tpl/record/ild-39527
5. http://www.royalparkrajapruek.org/Plants/view?id=1265#sthash.CCzuMTET.dpuf
6. https://inpn.mnhn.fr/espece/cd_nom/447046/tab/taxo?lg=en
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท1  สุดใจ วรเลข1  และญาณี มั่นอ้น2
1 หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
2 หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง  คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  จ. นครปฐม