|
โมกซ้อนด่าง |
ชื่ออื่นๆ: |
ปิดจงวา (เขมร) โมกบ้าน หลักป่า |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Wrightia religiosa Benth. "variegata" |
วงศ์: |
APOCYNACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป: |
นิยมปลูกเป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 1.5 - 2 ม. เพื่อความสะดวกในการตัดแต่งทรงพุ่ม (หากปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะแตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบ) |
การขยายพันธุ์: |
|
การเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ |
|
การตอน ใช้เวลา 1.5 - 2 เดือนจึงออกราก และมีความจำเป็นที่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบด่างเหลืองสลับเขียวสวยงาม และมีดอกที่มีกลิ่นหอมเป็นผลพลอยได้ |
|
สามารถตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่างๆ ที่สวยงามตามต้องการได้ดีชนิดหนึ่ง |
|
ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยมากเพียง 1 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้แล้ว |
|
เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นที่โล่งแจ้ง เช่น ตามสนามหญ้าต่างๆ |
|
มีอายุในการประดับได้นานหลายปีภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด |
|
ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ก็สามารถปลูกในกระถางได้ดีชนิดหนึ่ง |
|
ข้อแนะนำ: |
|
โมกซ้อนด่างเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ |
|
หากพบยอดที่แตกใหม่มีใบสีเขียวควรเด็ดทิ้งทั้งหมด หากปล่อยไว้ กิ่งก้านที่ใบสีเขียวจะเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่ากิ่งก้านที่ใบด่างที่เรา ต้องการ และทำให้ส่วนใบด่างค่อยๆ ตายได้หากปล่อยไว้นานๆ |
|
การตัดแต่งทรงพุ่มควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ทรงพุ่มแน่นสวยงาม |
|
การตัดแต่งบ่อยๆ จะทำให้ใบของโมกซ้อนด่างมีขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนใบเพิ่มมากขึ้น หากท่านพบอาการดังกล่าว ไม่ต้องตกใจ เพราะว่าลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะที่ต้องการโชว์ทรงพุ่ม สามารควบคุมทรงพุ่มให้สวยงามได้ง่ายในภายหลัง |
|
รูปทรงที่นิยม ทรงกลมที่ปลายกิ่ง ทรงเหลี่ยม ใช้ประดับสวนและสนามหญ้าได้ดี |
|
พันธุ์ไม้ในตระกูลนี้ส่วนใหญ่จะชอบพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง แต่ก็ยังต้องการน้ำในระดับกลางๆ ในฤดูแล้งควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง (รดน้ำพอชุ่ม) |
|
ภายหลังการดูแลรักษาที่ดีจะพบว่า มีกิ่งขนาดใหญ่ทยอยแตกมาเป็นระยะๆ ควรรีบตัดออกทันที เพราะบริเวณทรงพุ่มที่มีกิ่งขนาดใหญ่แตกขึ้นมานั้นใบจะร่วงได้ง่าย และเมื่อมีการตัดแต่งภายหลังจากการที่เราปล่อยให้มีกิ่งขนาดใหญ่ไว้นาน จะทำให้บริเวณนั้นโปร่งและดูไม่สวยงาม |
|
ในกรณีที่ต้องการจะเพิ่มเติมทรงพุ่มใหม่ ควรเหลือกิ่งให้น้อยที่สุดและดูแลให้อยู่ในรูปแบบเราต้องการตลอดเวลา จะทำให้ได้ทรงพุ่มใหม่เพิ่มขึ้นโดยไม่มีผลกระทบกับทรงพุ่มเดิม |
|
โมกด่างเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาตั้งแต่ไม่ถึง 100 บาท ไปจนถึงหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้น และทรงพุ่ม (ยิ่งต้นใหญ่ ยิ่งทรงพุ่มสวยงาม ยิ่งมีราคาแพง) เลือกให้ถูกใจไว้ก่อน ราคาค่อยว่ากันทีหลังครับ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ยาง ใช้แก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก ใช้แก้พิษงู และแมลงกัดต่อย |
|
ราก รักษาโรคเรื้อน |
|
มีความเชื่อว่า "โมก" จะทำให้เกิดความสุข บริสุทธิ์ สดใส คุ้มกันภัย ราศีพฤษภ (15 พ.ค.-14 มิ.ย.) ชาวพฤษภ เป็นผู้ที่มีความตั้งใจในการทำงานสูง มีความจริงใจ ใจกว้าง มีชีวิตที่ไม่โลดโผน |
|
หมายเหตุ: |
|
โดยธรรมชาติโมกด่างมีระบบรากไม่ค่อยแข็งแรง ดังนั้นกิ่งที่ได้จากการตอนจึงมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก |
|
โมกซ้อนด่างเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอยู่กลางแจ้ง การปลูกโมกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ต้นสูงชะลูด และทำให้เสียรูปทรง ความแน่นของใบจะน้อยทำให้ความสวยงามลดลง ข้อนี้สำคัญมากนะครับอย่าลืมพิจารณาก่อนปลูก |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
Uamporn Veesommai and Thaya Janjittikul. PLANT MATERIALS IN THAILAND IN 2001. 640 p. (336) |
2. |
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพรไทย. บริษัท โอเดียนสโตร์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. 620 หน้า (375) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|