ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
หนามพุงดอ หนามพุงดอ
 
หนามพุงดอ
ชื่ออื่นๆ: ขี้แฮด (ภาคเหนือ) ปี๊ดเต๊าะ (ภาคเหนือ) พุงดอ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Azima sarmentosa (Blume) Benth. & Hook. f.
วงศ์: SALVADORACEAE
ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มตั้งตรงหรือแตกกิ่งจำนวนมาก มีหนามแหลมคมตามซอกใบ
การแพร่ระบาด: พบแทบทุกภาคของประเทศไทย
การป้องกันและกำจัด: การตัดหรือขุดทิ้งก่อนที่จะติดผลจะสามารถควบคุมปริมาณได้ดี เนื่องจากหนามพุงดอสามารถผลิตผลจำนวนมากในครั้งเดียว การปล่อยให้มีการติดผลจำนวนมาก จะทำให้การแพร่กระจายรวดเร็วขึ้น
ข้อมูลอื่นๆ:
ราก รสเปรี้ยว แก้พิษฝี พิษซาง แก้ประดงผื่นคัน กระทุ้งพิษร้อนถอนพิษไข้
ใบและลำต้น มีกลิ่นน้ำมันเมื่อขยี้ เนื่องจากใบมีน้ำมัน mustard (glucosinolates)
ข้อควรระวัง: มีหนามแหลมคม ยาวได้ถึง 1 นิ้ว หากโดนหนามชนิดนี้ทิ่มตำเข้าเนื้อ ควรรีบบ่งออกให้ดีอย่าให้หนามหักฝังในเนื้อ จะทำให้เจ็บปวดเป็นอย่างมาก และอาจทำให้เป็นหนองภายหลังได้ (ประสบการณ์ตรงในวัยเด็กของผู้รวบรวม)
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลจากสวนไม้หอม ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
เอกสารอ้างอิง:
1. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand)
2. http://www.samunpri.com
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม