ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ผักเสี้ยนขน ผักเสี้ยนขน
 
ผักเสี้ยนขน
ชื่ออื่นๆ: ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนผี
ชื่อสามัญ: Spider weed
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome rutidosperma DC.
วงศ์: CAPPARACEAE
ถิ่นกำเนิด: อัฟริกากลาง
ลักษณะพฤกษศาสตร์: พืชล้มลุก ต้นสูงประมาณ 0.25 - 1 ม. ชอบขึ้นในที่ชื้น ไม่มีกลิ่น พอต้นสูงจะเอนลงดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยมส่วนที่แก่จะมีสีม่วงปน ใบเป็นใบประกอบชนิดสามใบ ใบกลางรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายและโคนแหลม ใบข้างรูปรี ปลายแหลมโคนเบี้ยว ก้านใบยาว ดอกออกเดียวที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีม่วงน้ำเงิน ก้านดอกยาว ออกดอกตลอดปี ผลเป็นฝักกลม หัวและท้ายเรียวแหลม ยาวประมาณ 4 - 6 ซม. เมล็ดสีดำ ผิวขรุขระคล้ายขดหอย
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การป้องกันและกำจัด:
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต (ไกลโฟเซต)  ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์)  ดามาร์ค (ไกลโฟเลท)  ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต,ไตรมีเซียมซอลต์)
หมายเหตุ: มีรายงานว่าพบครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2489
เอกสารอ้างอิง:
1. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.  พรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด.  พิมพ์ที่ โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2545.
2. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม