ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
หญ้าตีนกา
 
หญ้าตีนกา
ชื่ออื่นๆ: เยอคุม หญ้าปากคอก หญ้าปากคอก หญ้าตีนนก หญ้าผากควาย
ชื่อสามัญ: Goose grass, Fowe foot grass, Wire grass, Yard grass
ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleusine indica (L.) Gaertn
วงศ์: GRAMINEAE (POACEAE)
ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโก
ลักษณะพฤกษศาสตร์: เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นสั้นตั้งเป็นกอ ความสูงของกอประมาณ 50 ซม. ลำต้นแบนสีขาว - เขียวอ่อน แตกต้นใหม่ที่โคนกอเป็นกอขนาดใหญ่ ใบรูปแถบยาวปลายเรียวแหลม โคนใบมีขนไม่แข็งนัก กาบใบค่อนข้างใหญ่สีเขียวอ่อน - ขาวหุ้มซ้อนทับใบที่เกิดลำดับหลัง ออกดอกที่ปลายยอด ก้านดอกสีเขียวกลมยาว และแตกช่อดอกที่ส่วนปลาย 3 - 8 ช่อ ในแต่ละช่อย่อยมีดอกย่อยจำนวนมาก
การขยายพันธุ์: แยกกอ และเพาะเมล็ด
การป้องกันและกำจัด:
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
ใช้สารเคมีต่างๆ  เช่น  กรัมม็อกโซน  โกลด์ (พาราควอต ไดคลอไรด์)  ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต, ไตรมีเซียมซอลต์) หรือ วันไซด์ (ซุปเปอร์)
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประขาขน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม