ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
บานไม่รู้โรยป่า
 
บานไม่รู้โรยป่า
ชื่อสามัญ: Wild globe everlasting, Gomphrena weed
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gomphrena celosioides Mart.
วงศ์: AMARANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด: แพร่กระจายมากทางภาคเหนือ
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้ล้มลุกช่อดอกมีสีขาว ชมพู แดง ม่วง และเหลือง กลีบเลี้ยงลักษณะแห้งแข็ง ดอกบานเวลากลางวันจะหุบเวลากลางคืน
การแพร่ระบาด: เมล็ดที่แก่จัดตกลงบนดินที่มีความชื้นพอเพียง
การป้องกันและกำจัด:
รดน้ำให้ดินนิ่มและทำการถอนให้โคนต้นหลุดออกจากดิน หากมีจำนวนมากไม่สามารถถอนได้หมดในคราวเดียว ควรตัดต้นออกก่อนที่ดอกจะแก่ สามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ระดับหนึ่ง
ใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต (48% เอสแอล) การใช้สารเคมีประเภทนี้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้มาก อัตราที่ใช้ 70 - 80 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และเพื่อให้ได้ผลในการกำจัดควรใช้ร่วมกับสารจับใบเพื่อการเกาะติดของสารเคมีกับใบพืช
ข้อมูลอื่นๆ:
ต้น แก้กามโรค หนองใน ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ระดูขาว
ราก แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับนิ่ว
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลจากการปฏิบัติงานในสวนไม้หอมศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.hear.org/pier/species/gomphrena_celosioides.htm
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (260)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม