ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ผกากรอง ผกากรอง
ผกากรอง
ผกากรอง
 
ผกากรอง
ชื่ออื่นๆ: ก้ามกุ้ง Kam kung, เบญจมาศป่า (Central); ขะจาย ตาปู, มะจาย Ma chai (Mae Hong Son); ขี้กา (Prachin Buri); คำขี้ไก่ (Chiang Mai)); ดอกไม้จีน (Trat); เบ็งละมาศ, สาบแร้ง (Northern); ไม้จีน (Chumphon); ยี่สุ่น (Trang); สามสิบ (Chanthaburi); หญ้าสาบแร้ง (Central, Northern); จีน ยี่สุ่น สามสิบ
ชื่อสามัญ: Weeping Lantana, White Sage, Cloth of gold, Hedge Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara Linn.
วงศ์: VERBENACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศอุรุกวัย อเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มเลื้อย สูง 2-3 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม อาจมีหนามเล็กๆ ชี้ลง หรือไม่มีหนาม
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำ
ข้อดีของพันธุ์ไม้: เนื่องจากใบผกากรองมีกลิ่นฉุน และมีสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่ชื่อว่า แลนทานิน (Lantanin) จึงมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับฆ่าและขับไล่แมลงศัตรูพืช โดยวิธีการเตรียมและใช้ผกากรองเป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วิธีแรกให้ใช้เมล็ดผกากรองบด 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 2 ลิตร และให้แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้ฉีดพ่นเพื่อฆ่าหนอนกระทู้ในแปลงผัก ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบและดอกสด บดละเอียดหนัก 50 กรัม ผสมกับน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 5 แล้วนำไปใช้ฉีดพ่น
ข้อแนะนำ:
สาเหตุที่ผกากรองประสบความสำเร็จในการรุกรานไปยังพื้นที่ต่างๆ นั้น ประกอบด้วย
1. มีสัตว์หลายชนิดที่กินผลของผกากรองแล้วแพร่กระจายเมล็ดไปยังพื้นที่อื่นเป็นวงกว้าง
2. ต้นผกากรองมีความเป็นพิษ จึงไม่มีสัตว์มากินเป็นอาหาร
3. ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่หลากหลายทำให้การแพร่กระจายรวดเร็วยิ่งขึ้น
4. การตัดลำต้น และการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นผกากรองให้ขยายพันธุ์เร็วขึ้น
5. ต้นผกากรองมีการสร้างสารยับยั้งการเจริญต่อพืชชนิดอื่น
6. มีการเพิ่มจำนวนเมล็ดได้อย่างรวดเร็วมาก (ประมาณ 12,000 เมล็ด ต่อต้น ต่อปี)
การแพร่กระจาย: ผกากรองบางสายพันธุ์เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วประเทศ พบการระบาดมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี
การควบคุมจำนวน: หากพื้นที่ไม่กว้างใหญ่นักให้ใช้วิธีถางและขุดเอารากออก อาจใช้สารเคมีในการกำจัด บางพื้นที่มีการขุดต้นผกากรองในธรรมชาติมาปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามได้
ข้อมูลอื่นๆ: ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก เก็บได้ตลอดปี ใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
ใบ  -  รสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผื่นคันเกิดจากชื้น  หิด
ดอก - รสชุ่ม จืด เย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้อง
          อาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก
ราก  - แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม ฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก

วิธีและปริมาณที่ใช้
ใบสด - 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าทา หรือต้มน้ำ
            ชะล้างบริเวณที่เป็น  ดอกแห้ง  6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
รากสด - 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มน้ำอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน

ใน วัว ควาย กินพืชชนิดนี้เข้าไปจะทำให้ตับอักเสบในระยะที่ตับอักเสบนี้จะมีการสะสมและขับถ่าย bromosulfophthalein ซึ่งอาจสำคัญในการกำจัด lantic acid ออกจากกระแสโลหิต นอกจากนี้ยังพบว่ามีระดับ serum adenosine diaminase เพิ่มขึ้น ถ้าสัตว์ได้รับสารนั้นจะมีอาการดีซ่าน (jaundice)  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นเด็ก อายุประมาณ 2-6 ขวบ ซึ่งรับประทานผลที่แก่แต่ยังไม่สุกเข้าไป อาการที่พบ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่ประสานกัน มึนงง อาเจียน หายใจลึกแต่ช้า ม่านตาขยาย ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและตายได้ในที่สุด เมื่อคนหรือสัตว์กินเข้าไปก่อให้เกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง (Dermal Sensitivity to Sunlight หรือ Photesensitization) ผิวหนังมีรอยฟกช้ำดำเขียว (Lesion) ผิวหนังแตกในคน แต่ในสัตว์ เช่น วัว ควาย แกะ หมู เมื่อกินพืชกลุ่มนี้เข้าไป เกิดอาการน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย น้ำนมลดลง ขนไม่งามเท่าที่ควร ผิวหนังขาด pigment
เอกสารอ้างอิง:
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization
2. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_22_7.htm
3. https://toptropicals.com/catalog/uid/lantana_camara.htm
4. https://th.wikipedia.org/wiki/ผกากรองผกากรอง
5. https://www.doctor.or.th/article/detail/2043
6. https://medthai.com/ผกากรองผกากรอง
7. http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=182&Temp=0
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท1  สุดใจ วรเลข1  และญาณี มั่นอ้น2
1 หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
2 หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง  คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  จ. นครปฐม