|
แหน |
ชื่ออื่นๆ: |
แหนเป็ด แหนเล็ก |
ชื่อสามัญ: |
Duckweed |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Lemna minor L. |
วงศ์: |
LEMNACEAE |
ลักษณะทั่วไป: |
เป็นพืชขนาดเล็กลอยน้ำ เจริญเติบโตได้ดีในน้ำนิ่ง เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง |
การแพร่ระบาด: |
ระบาดมากในพื้นที่น้ำนิ่งหรือไหลอย่างช้าๆ และไม่มีสัตว์กินพืช เช่น เป็ด ปลากินพืช |
การป้องกันและกำจัด: |
แหนเป็นวัชพืชที่มีประโยชน์มากกว่าโทษ ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หรือการปล่อยปลากินพืชในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่หรืออัตราการขยายพันธุ์ของแหนในพื้นที่นั้น |
ข้อมูลอื่นๆ: |
แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็ก มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ |
หมายเหตุ: |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแหน
ต้น |
มี thallus เล็กๆ สีเขียว อยู่เดี่ยวๆ หรืออยู่ติดกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 1 ถึงหลาย thallus ซึ่งส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นใบและลำต้นพร้อมๆ กัน |
ใบ |
มีลักษณะเป็นรูปรี เป็นเกล็ดเล็กประมาณ 0.2 ซม. สีเขียวเป็นมัน เชื่อมติดกันเป็นกระจุก 2-3 ใบ ใต้ใบมีรากฝอยเล็กๆ |
ดอก |
ออกเป็นช่อเกิดอยู่ในช่องตรงขอบ thallus มีเยื่อบางล้อมรอบช่อดอกไว้ ดอกตัวผู้ 1-2 อัน แต่ละอันมีอับเรณู 1-2 ช่อง ดอกตัวเมียมีเพียงรังไข่ที่ภายใน 1 ช่องและมีไข่อ่อนเพียง 1 ใ บ |
ผล |
เป็นแบบ utricle (มีเมล็ดเดียวแก่แล้วไม่แตกและมีลักษณะคล้ายถุงเล็กๆ หรือกระเปาะเล็กๆ) |
เมล็ด |
เป็นแบบ pericarp (ผนังเปลือกของผล ประกอบด้วยผนังผลชั้นนอก ผนังชั้นกลาง และผนังผลชั้นใน) |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (316) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|