|
ไมยราบ |
ชื่ออื่นๆ: |
กระทืบยอด หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี) กะหงับ (ภาคใต้) ก้านของ (นครศรีธรรมราช) ระงับ (ภาคกลาง) หงับพระพาย (ชุมพร) หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ) |
ชื่อสามัญ: |
Sensitive plant |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Mimosa pucida L. |
วงศ์: |
FABACEAE (LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE) |
ถิ่นกำเนิด: |
อเมริกาใต้ ประเทศไทยนำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน |
ลักษณะพฤกษศาสตร์: |
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งสูงถึง 1 ม. มีขนหยาบปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ และช่อดอก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1-2 ใบ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-4 ซม. ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.1 มม. กลีบดอกรูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่ยาวประมาณ 0.5 มม. เกลี้ยง ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน ตรง ยาว 1.5-1.8 ซม. มีขนแข็งตามขอบ |
การขยายพันธุ์: |
เพาะเมล็ด |
การป้องกันและกำจัด: |
|
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด เพื่อไม่ให้ออกดอก |
|
ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต (ไกลโฟเซต) ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ราก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน ถ้าไข้ขนาดสูงมากๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริดสีดวงทวารรสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง |
|
ต้น ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต |
|
ใบ แก้เริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า |
|
ทั้งต้น ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็นตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand) |
2. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัท ประชาชน จำกัด. 2544. |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|