ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ผักตบไทย ผักตบไทย
 
ผักตบไทย
ชื่ออื่นๆ: ผักตบ ผักสิ้น (สงขลา)
ชื่อสามัญ: Monochoria  arrowleaf  falsepickerel weed
ชื่อวิทยาศาสตร์: Monochoria hastata (L.) Solms
วงศ์: PONTEDERIACEAE
ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนของทวีปแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป: เป็นวัชพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลอยน้ำ ทรงพุ่มกลม โปร่ง ชอบขึ้นในน้ำตื้น  ชอบหยั่งรากไปที่ผิวดินใต้น้ำ สูงประมาณ 50 – 100 ซม.
ฤดูการออกดอก: ต้นฤดูฝน (ปลาย เม.ย. – พ.ค.)
การขยายพันธุ์:
แยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
เพาะเมล็ด
การป้องกันและกำจัด: ผักตบไทย มีการแพร่กระจายในแหล่งน้ำทั่วไปที่มีน้ำตื่น การแพร่ระบาดจึงมีไม่มากนัก การกำจัดโดยวิธีกลก็เพียงพอแล้ว
ข้อดีของพันธุ์ไม้: ใช้เป็นไม้ประดับ ไม้สมุนไพร และอาหาร
ข้อแนะนำ: ผักตบไทย ชอบอยู่บริเวณน้ำต้น ลองปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้สมุนไพร และอาหาร มีประโยชน์มากกว่าโทษ
ข้อมูลอื่นๆ:
1. ประโยชน์ทางยา ผักตบไทย สรรพคุณ ขับพิษร้อน ขับปัสสาวะ หรือใช้ผสมกับผักกระเฉด ตำคั้นเอาน้ำรับประทานแก้พิษเบื่อเมา
2. ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ต้นอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักตบไทยเป็นผักออกในช่วงฤดูฝน ผักตบไทยสดจะนิ่มกรอบ รับประทานสดร่วมกับน้ำพริก น้ำพริกปลา ส้มตำ และยอดอ่อน ดอกอ่อนนำไปปรุงเป็นแกงส้ม แกงเลียง ผัดก็ได้
3. ประโยชน์ต่อสุขภาพ รสจืด ช่วยขับพิษร้อน ขับปัสสาวะกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีรายงานว่าผักสิ้น (จ. สงขลา) 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 9 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
- เส้นใย 0.7 กรัม
- แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 1,961 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 324 ไมโครกรัมของเรตินนอล
- วิตามินบีหนึ่ง 0.01 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.30 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 5 มิลลิกรัม
เอกสารอ้างอิง:
1. http://plants.usda.gov/java/profile?symbol=MOHA2
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม