|
เถาคันขาว |
ชื่ออื่นๆ: |
เถาคันขาว (ภาคกลาง) เถาคันแดง เถาคันขาว ไทย หุนแปแดง เครือหุนแปขาว (อีสาน) |
ชื่อสามัญ: |
True virginia creeper |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Parthenocissus quinquefolia (L.) Planch. |
วงศ์: |
VITIDACEAE |
ลักษณะพฤกษศาสตร์: |
ต้นเป็นไม้เถาเลื้อยสีเขียวขนาดเล็ก ชอบขึ้นต้นไม้ใหญ่ เถามีมือเกาะแตกจากข้อไม่มีขน ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ แตกจากก้านใบจุดเดียวกัน ใบย่อยเป็นรูปไข่ โคนใบป้าน ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบจักเล็กน้อยสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบ เส้นกลางใบนูนเห็นเด่นชัด ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกเป็นดอกช่อแตกออกจากก้านช่อดอกหลักจุดเดียวกัน มีลักษณะคล้ายดอกกระตังบาย หรือดอกเถาวัลย์ปูน หรือฝิ่นต้น และดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่แบนและแน่น ดอกมีขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้านดอกย่อย แต่ละช่อมี 10-40 ดอก |
การขยายพันธุ์: |
เพาะเมล็ด |
การป้องกันและกำจัด: |
|
การใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด เพื่อไม่ให้ออกดอก |
|
ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต (ไกลโฟเซต), ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์) |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
ยอดอ่อน ลวก ต้ม จิ้มน้ำพริก หรือรับประทานเป็นผักสด รสมัน จืด |
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). พืชกินได้ในป่าสะแกราช. หน้า 146. |
2. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัท ประชาชน จำกัด. 2544. |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|