ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ตีนตุ๊กแก
 
ตีนตุ๊กแก
ชื่ออื่นๆ: ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนผี
ชื่อสามัญ: Coatbuttons, Mexican daisy
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tridax procumbens L.
วงศ์: ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ลักษณะพฤกษศาสตร์: เป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยชูยอดเหนือดิน สูงประมาณ 30 ซม. ทุกส่วนของพืชมีขนละเอียดสีขาวเกาะติดหนาแน่น ลำต้นกลมสีเขียวเหลืองเปราะหักง่าย การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้าม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปใบหอก ปลายใบแหลมโคนมน ขอบใบเป็นจัก ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาวมาก อาจยาวถึง 20 ซม. ดอกเพศเมียอยู่รอบนอก มีสีขาวแผ่เป็นกลีบกว้างปลายแยกเป็นสามแฉก ส่วนในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยแต่ละดอกกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด มีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลมีขนสีน้ำตาลปกคลุม เมล็ดรูปเข็มสีน้ำตาลดำมีปุยขน
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
การป้องกันและกำจัด:
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต (ไกลโฟเซต) ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต, ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์) ดามาร์ค (ไกลโฟเลท) ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต, ไตรมีเซียมซอลต์)
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.liberherbarum.com/Pn6752.htm
2. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544.
3. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.  พรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด.  พิมพ์ที่ โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2545.
4. อำไพ ยงบุญเกิด.  วัชพืชในสวนยางพารา.  พิมพ์ที่ แอ๊สเสทการพิมพ์.  กรุงเทพฯ.
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม