ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ธูปฤาษี ธูปฤาษี
ธูปฤาษี ธูปฤาษี
 
ธูปฤาษี
ชื่ออื่นๆ: กกช้าง กกธูป เฟื้อ ปรือ หญ้าสลาบหลวง
ชื่อสามัญ: Cat-tail, Elephant grass, Lesser reedmace, Narrow-leaved Cat-tail
ชื่อวิทยาศาสตร์: Typha angustifolia L.
วงศ์: TYPHACEAE
ถิ่นกำเนิด: ทวีปยุโรป และอเมริกา
ลักษณะทั่วไป: วัชพืชล้มลุก อายุประมาณ 2 ปี สูงประมาณ 1.5 - 2 ม. เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ
ฤดูการออกดอก: ตลอดปี
การขยายพันธุ์: เมล็ดมีขนอ่อนนุ่มปลิวไปตามลมได้ง่าย
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ธูปฤาษีมีระบบรากที่ดี ช่วยป้องกันการพังทลายของดินชายน้ำ
สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมผิวดินในไม้ยืนต้น สวนไม้ผลต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียความชื้นออกจากผิวดิน หรือลดการชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนได้
ใบเหนียวนิยมใช้มุงหลังคา ใช้ทำเครื่องจักสาน เช่น เสื่อ ตะกร้า เชือก
ยอดอ่อนกินได้ทั้งสด และทำให้สุก
ข้อแนะนำ:
การป้องกันกำจัดธูปฤาษี ควรทำก่อนออกดอกจะดีที่สุด เมล็ดมีการแพร่ระบาดได้ดีโดยลมและน้ำได้ง่าย
การตัดต้นขนาดใหญ่ ควรตัดให้ต่ำกว่าระดับผิวน้ำ
ข้อมูลอื่นๆ:
ธูปฤาษีสามารถกำจัดไนโตรเจนจากน้ำเสียในที่ลุ่มต่อไร่ได้ถึง 400 กก. ต่อปี และสามารถดูดเก็บโพแทสเซียมต่อไร่ได้ถึง 690 กก. ต่อปี จึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่จะมีบทบาทเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต
ลำต้นใต้ดิน และราก ใช้เป็นยาบำบัดโรคบางชนิด เช่น ขับปัสสาวะ เยื่อ (pulp) ของต้นกกช้างนำมาใช้ทำใยเทียม (rayon) และกระดาษได้ มีเส้นใย (fiber) ถึงร้อยละ 40 เส้นใยนี้มีความชื้นร้อยละ 8.9 เซลลูโลส (cellulose) ร้อยละ 63 เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ร้อยละ 8.7 ลิกนิน (lignin) ร้อยละ 9.6 ไข (wax) ร้อยละ 1.4 และเถ้า (ash) ร้อยละ 2 เส้นใยมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน นำมาทอเป็นผ้าใช้แทนฝ้ายหรือขนสัตว์
เอกสารอ้างอิง:
1. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p.
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม