ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ขี้ครอก
 
ขี้ครอก
ชื่ออื่นๆ: ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล
ชื่อสามัญ: Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain
ชื่อวิทยาศาสตร์: Urena lobata L.
วงศ์: MALVACEAE
ลักษณะพฤกษศาสตร์: ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 ม. เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบเป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขนาดประมาณ 2-8 ซม. X 2-8 ซม. ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ ก้านใบยาว 1-5 ซม. มีหูใบ 1 คู่ รูปรี กว้าง 0.1 ซม. ยาว 0.2 ซม. ดอกออกเดี่ยวๆ เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 3.0 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผลทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลขนาดประมาณ 2-2.5 มม. X 3-4 มม. มีพูละ 1 เมล็ด
การป้องกันและกำจัด:
bt01 ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
bt01 ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น โดเรมี (2,4-ดี ไอโซบิวทิล เอสเทอร์), อามีทรีน (อามีทรีน), ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต, ไตรมีเซียมซอลต์), ไกลโพเซต 16 (ไกลโพเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม)
เอกสารอ้างอิง:
1. https://th.wikipedia.org/wiki/ขี้ครอก
2. http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=khor&func=khor25
3. http://www.global-crops.com/html/productgbcweed_glyphoth.html
4. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).   พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม