ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
งานวิจัย

พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
coconut
การใช้วัสดุเพาะร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสำหรับผลิตต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ 105
ข้าวหอมมะลิ 105
ผู้วิจัย เนตรชนก เกียรติ์นนทพัทธ์  ชวนพิศ อรุณรังสิกุล  และศิริวรรณ ทิพรักษ์
บทคัดย่อ
space100
การเปรียบเทียบวัสดุเพาะที่เหมาะสมร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสำหรับผลิตต้นอ่อน ข้าวหอมมะลิ 105 โดยใช้วัสดุเพาะ 6 ชนิด คือ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ผ้าขนหนู กระดาษเพาะ ฟองน้ำ และทราย ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหาร และไม่ให้สารละลายธาตุอาหาร (ให้น้ำอย่างเดียว) วางแผนการทดลองโดยจัดหน่วยทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองหน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม ผลการทดลองพบว่า ต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ 105 ที่ได้รับสารละลายธาตุอาหารในทุกวัสดุเพาะให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าการให้น้ำ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกลักษณะคือ ความสูงต้นอ่อน น้ำหนักต้นอ่อน และปริมาณคลอโรฟิล การใช้ขี้เถ้าแกลบร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหรือให้น้ำพบว่า สามารถให้ปริมาณคลอโรฟิลที่สูงกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่น นอกจากนั้นการให้สารละลายธาตุอาหารในทุกวัสดุเพาะสามารถเพิ่มระดับปริมาณคลอโรฟิลได้
ดาวน์โหลด โปสเตอร์งานวิจัยนี้
หน้าแรก | งานวิจัย