ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัย/แนวทางปฏิบัติ
พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
ผลของ w zero (wo) ที่มีต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต
และผลผลิตของข้าวสุพรรณบุรี 1
ผู้วิจัย
เนตรชนก เกียรติ์นนทพัทธ์ และชวนพิศ อรุณรังสิกุล
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของของเหลวที่เหลือจากการเลี้ยงยีสต์ (WO) ที่มีต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB ทำ 3 ซ้ำโดยมี 4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ กรรมวิธี ที่ 2 รด WO 300 ลิตร/ไร่ เพื่อหมักดินก่อนเตรียมดิน 7 วัน ร่วมกับรด WO ในอัตราเดียวกันและปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ กรรมวิธีที่ 3 รด WO 300 ลิตร/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 10 กก./ไร่ และกรรมวิธีที่ 4 รด WO 300 ลิตร/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ พบว่า การใช้ WO ในทั้ง 3 กรรมวิธีให้ลักษณะความสูงของต้น จำนวนรวงต่อต้น ความยาวรวง จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนัก 100 เมล็ด และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นน้ำหนักเมล็ดต่อรวง ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 1.840 กรัม มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีอื่นๆ ในลักษณะผลผลิต พบว่า กรรมวิธีที่ 2 ซึ่งรด WO 300 ลิตร/ไร่ เพื่อหมักดินก่อนเตรียมดิน 7 วัน และรด WO เพิ่มเติมที่อัตราเดียวกัน ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 840.88 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 4 โดยรด WO 300 ลิตร/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ ให้ผลผลิต 805.33 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติทั้ง 2 กรรมวิธี
การนำเสนอผลงาน
ภาคโปสเตอร์
การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ครั้งที่ 5
ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพฯ
ดาวน์โหลด
โปสเตอร์งานวิจัยนี้
หน้าแรก
|
งานวิจัย
Top