|
ลั่นทมขาว (ลีลาวดีขาวพวง) |
ชื่ออื่นๆ: |
ลีลาวดี |
ชื่อสามัญ: |
Singapore plumeria, Frangipani, Plumeria, Pagoda tree, Temple tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Plumeria obtusa L. |
วงศ์: |
APOCYNACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดกลาง พุ่มกลมเมื่ออยู่กลางแจ้ง |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน |
การขยายพันธุ์: |
|
การปักชำ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่ คลิ๊ก) |
|
การตอน นิยมใช้กับกิ่งขนาดกลาง - ใหญ่ |
|
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลานานในการปลูก แต่ก็มีข้อดีที่ระบบรากแข็งแรงและอาจได้ต้นที่กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะต้นที่ปลูกใกล้ๆ กับต้นที่มีลักษณะของดอก หรือต่างสายพันธุ์กัน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ใบสวยที่สุดในตระกูลลั่นทม |
|
ทรงพุ่มโดยธรรมชาติสวยงาม |
|
ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำน้อย แห้งแล้ง และดินเค็ม |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่เหมาะสำหรับการบุกเบิกพื้นที่ |
|
ช่วงการปลูกกว้างมาก หากสังเกต เราสามารถพบลั่นทมชนิดนี้ขึ้นได้ตั้งแต่ชายทะเลถึงบนเขา |
|
ข้อแนะนำ: |
|
โดยธรรมชาติชอบพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง |
|
ในกรณีที่ปลูกต้นใหญ่ต้องมีการค้ำยันที่ดีและแข็งแรงประมาณ 1 ปี เพราะเป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีน้ำหนักต้นมากและระบบรากไม่ค่อยแข็งแรง |
|
การควบคุมขนาดของต้นให้มีขนาดที่เหมาะสม มีความจำเป็นสำหรับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ (หลายคนคงเคยเห็น ต้นที่มีขนาดใหญ่และไม่มีการตัดแต่งล้มง่าย) |
|
ในช่วงฤดูร้อนอากาศแห้ง ไม่ควรให้น้ำ รอจนกระทั้งใบร่วงหมดทั้งต้น และเก็บกวาดใบให้เรียบร้อย |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานนามให้ใหม่ว่า "ลีลาวดี" จึงมีผู้ให้ความสนใจนิยมเข้ามาปลูกประดับตกแต่งสวนกันมากขึ้น |
|
ดอกตากแห้ง 5-12 กรัม ต้มน้ำกินต่างชาได้ มีรสชุ่ม แก้ไอ บำรุงปอด รักษาอาการร้อนใน ท้องผูกและแก้บิด |
|
เปลือกต้นแห้ง บดเป็นผง ประมาณ 60 กรัม ชงกับน้ำร้อน 4 ลิตร ดื่มครั้งละ 250 มิลลิลิตร ร่วมกับน้ำมะขามเปียก วันละ 4 - 5 ครั้งติดต่อกัน จะช่วยขับปัสสาวะและถ่ายดีขึ้น |
|
เปลือกราก ใช้รักษาโรคหนองในและกามโรค ในใบและต้นมี Fulvoplumierin สารนี้สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดเนื้องอกเป็นก้อน |
|
เมล็ด ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ภายใน) |
|
น้ำยาง ใช้ทาแก้งูสวัด ทาโรคหิด ใช้ใส่แผล |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ 2542 หน้า. (738) |
2. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (422) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|