ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัย/แนวทางปฏิบัติ
พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
ผลของการยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวด้วยการใช้วิธีกลและสารเคมี
ผู้วิจัย
เนตรชนก เกียรติ์นนทพัทธ์ ชวนพิศ อรุณรังสิกุล พิทักพงศ์ ป้อมปรานี และศิริวรรณ ทิพรักษ์
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวด้วยการใช้วิธีกลและการใช้สารเคมี วิธีกลเป็นการทำลายเปลือกหุ้มเมล็ด มี 3 กรรมวิธี คือ แกะเปลือกหุ้มเมล็ด แกะเปลือกหุ้มเมล็ดพร้อมกับลอกเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นใน และตัดปลายเปลือกหุ้มเมล็ด เพื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม คือ ไม่แกะเปลือกหุ้มเมล็ด ส่วนการใช้สารเคมีเป็นการแช่เมล็ดที่แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกแล้วในสารละลาย 4 ชนิด คือ KNO
3
, PEG 6000, NaCl และ GA
3
ที่ระดับความเข้มข้น 0.5%, 1.0%, 1.5% และ 2.0% ณ อุณหภูมิ 20
o
ซ เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม คือ การแช่เมล็ดในน้ำ วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 50 เมล็ด ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลอง หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม พบว่า ในการยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวโดยใช้วิธีกล การแกะเปลือกหุ้มเมล็ดออก สามารถส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสุด รองลงมา คือ แกะเปลือกหุ้มเมล็ดพร้อมกับลอกเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นใน ทั้ง 2 กรรมวิธีนี้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สำหรับการแช่เมล็ดในสารเคมีความเข้มข้นต่างๆ มีผลในการยกระดับการงอกของเมล็ด ทุกกรรมวิธีให้ความงอกของเมล็ดมากกว่าการแช่เมล็ดในน้ำ โดยเฉพาะการแช่เมล็ดด้วยสารละลาย KNO
3
ที่ความเข้มข้น 2.0% สามารถยกระดับการงอกของเมล็ดสูง ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสุด และเมล็ดใช้เวลาในการงอกที่ 50% สั้นที่สุด การใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารเคมีสามารถยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวได้มากกว่าการใช้วิธีกลเพียงอย่างเดียว
การนำเสนอผลงาน
ภาคโปสเตอร์
การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 9
ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน
รางวัล
ผลงานวิจัยยอดนิยมระดับชมเชย ภาคโปสเตอร์
ดาวน์โหลด
โปสเตอร์งานวิจัยนี้
หน้าแรก
|
งานวิจัย
Top