ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
งานวิจัย

พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
coconut
การใช้สารไคโตซานร่วมกับสารเร่งการเจริญเติบโตเพิ่มประสิทธิภาพการสร้าง
สารสำคัญทางโภชนาการในการเพาะเลี้ยงข้าวหอมมะลิ 105
ข้าวหอมมะลิ 105
ผู้วิจัย
รงรอง หอมหวล  มณฑา วงศ์มณีโรจน์  เนตรชนก เกียรติ์นนทพัทธ์  สุลักษณ์ แจ่มจำรัส  รัตนา เอการัมย์  พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล  ชูศักดิ์ คุณุไทย  และชวนพิศ อรุณรังสิกุล
บทคัดย่อ
space120
ศึกษาการใช้สารไคโตซานในการแช่เมล็ดและไม่แช่เมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ก่อนนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า ต้นกล้าข้าวที่เจริญจากเมล็ดที่แช่สารไคโตซานมีลำต้นและใบสีเขียวเข้มกว่า ต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดที่ไม่แช่สารไคโตซานหลังจากเลี้ยงในอาหารสูตร MS ปราศจากสารเร่งการเจริญเติบโตเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นนำต้นกล้าที่ได้จากการแช่และไม่แช่เมล็ดด้วยสารไคโตซานมาเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 2 มก./ล. ร่วมกับสารไคโตซานความเข้มข้นต่างๆ ตั้งแต่ 0, 5, 10, 15 และ 20 มก./ล. เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและการสร้างสารสำคัญทางโภชนาการ พบว่า ต้นกล้าจากเมล็ดที่แช่สารไคโตซาน มีการแตกกอดีกว่าต้นกล้าจากเมล็ดที่ไม่แช่สารไคโตซานโดยเฉพาะในสูตร MS ที่เติม TDZ 2 มก./ล. ร่วมกับสารไคโตซาน 5 มก./ล.(11.14 ต้น/เมล็ด) จากนั้นเพิ่มปริมาณต้นกล้าข้าวที่ได้จากทุกการทดลองในอาหารสูตรเดิมเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อนำไปวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยวิธี The Ferric Reducing Ability of Plasma (FRAP) Assay และคลอโรฟิลล์ เอ บี โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer ที่ค่า absorbance ที่ A663 และ A646 จากการทดลองพบว่า ต้นกล้าจากเมล็ดที่แช่ในสารไคโตซานและเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 2 มก./ล. ร่วมด้วยสารไคโตซานความเข้มข้นตั้งแต่ 5-15 มก./ล. มีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ คลอโรฟิลล์เอและบี มากกว่าต้นกล้าจากเมล็ดที่ไม่แช่และไม่ได้เลี้ยงในอาหารที่มีสารไคโตซานอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
การนำเสนอผลงาน ภาคโปสเตอร์
การประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 5
ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2555  ณ โรงแรมแกรนด์จอมเทียน พาเลซ พัทยา จังหวัดชลบุรี
รางวัล ผลงานวิจัยลำดับที่ 2 ภาคโปสเตอร์
ดาวน์โหลด โปสเตอร์งานวิจัยนี้
หน้าแรก | งานวิจัย