|
ลั่นทมแดง |
ชื่ออื่นๆ: |
ลีลาวดี |
ชื่อสามัญ: |
West Indian red jasmin, Nosegay frangipani |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Plumeria rubra Linn. |
วงศ์: |
APOCYNACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดกลาง ใบบาง ทรงพุ่มกลมเมื่ออยู่กลางแจ้ง |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน |
การขยายพันธุ์: |
|
การปักชำ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่ คลิ๊ก) |
|
การตอน นิยมใช้กับกิ่งขนาดกลาง - ใหญ่ แต่ยากกว่าสายพันธุ์ขาวพวง |
|
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลานานในการปลูก แต่ก็มีข้อดีที่ระบบรากแข็งแรงและอาจได้ต้นที่กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะต้นที่ปลูกใกล้ๆ กับต้นที่มีลักษณะของดอกหรือต่างสายพันธุ์กัน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
มีการเปลี่ยนเป็นสีชมพูได้หากเป็นช่วงฤดูแล้ง หรือขาดน้ำ |
|
ทรงพุ่มโดยธรรมชาติสวยงาม |
|
ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำน้อย แห้งแล้ง และดินเค็ม |
|
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่เหมาะสำหรับการบุกเบิกพื้นที่ |
|
ช่วงการปลูกกว้างมาก พบได้ตั้งแต่ชายทะเลถึงบนเขา |
|
ข้อแนะนำ: |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ข้อมูลสรรพคุณทางยา ดูที่ลีลาวดีสายพันธุ์ขาวพวง |
|
ชื่อของลีลาวดีในขณะนี้ยังไม่แน่นอน ตั้งกันตามชอบใจ จึงมีชื้อขายในท้องตลาดมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลีลาวดีจากการผสมพันธุ์ หรือการกลายพันธุ์ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (739) |
2. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (422) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|